ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฏหมายทั่วไป
กฏหมาย แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ - พระราชบัญญัติ - พระราชกำหนด - พระราชกฤษฎีกา - กฏกระทรวง - กฏหมายที่ออกโดยหน่วยการปกรองท้องถิ่น ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับตำบล ฯลฯ
หากแบ่งตามหมวดหมู่ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ กฏหมายมหาชน กฏหมายเอกชน กฏหมายระหว่างประเทศ กฏหมายสังคม
กฏหมายมหาชน ได้แก่ (1) กฏหมายรัฐธรรมนูญ (2) กฏหมายปกครอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ (3) กฏหมายอาญา เช่น ประมวลกฏหมาย พ.ร.บ. การพนัน ฯ
กฏหมายเอกชน ได้แก่ (1) กฏหมายแพ่งทั่วไป (2) กฏหมายพาณิชย์ (3) กฏหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ ฯลฯ
กฏหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ (1) กฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (2) กฏหมายระหว่างแผนกคดีบุคคล (3) กฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
กฏหมายสังคม ได้แก่ (1) กฏหมายแรงงาน (2) กฏหมายประกันสังคม ฯลฯ
หลักกฏหมายไม่มีผลย้อนหลัง กฏหมายจะต้องระบุวันที่บังคับใช้กฏหมายและไม่มีผลย้อนหลัง ยกเว้นจะระบุไว้ชัดเจน ว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงเมื่อใด
การตีความกฏหมาย แบ่งเป็น 2 ประการ ได้แก่- ตีความตามตัวอักษร หากใช้ภาษาธรรมดา ก็ตีความตามธรรมดา หากใช้ภาษาทางเทคนิค หรือคำศัพท์พิเศษ ก็ต้องตีความตามภาษาเทคนิคหรือคำศัพท์พิเศษ- ตีความตามเจตนารมย์ ต้องทราบถึงเจตนารมย์ในขณะร่างกฏหมายว่า ต้องการออกกฏหมายเพื่อฉบับนั้น ๆ เพื่ออะไร
การอุดช่องว่างของกฏหมาย (1) กรณีกฏหมายกำหนดวิธิการอุดช่องว่างไว้แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 (2) กฏหมายไม่ได้กำหนดวิธิการอุดช่องว่างของกฏหมายไว้ ก็ให้ใช้หลักทั่วไปในการอุดช่องว่าง แต่ในคดีอาญาจะอุดช่องว่างให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษบุคคล ไม่ได้
สิทธิ คือ อำนาจที่กฏหมายให้แก่บุคคล หรือ ผลประโยชน์ที่กฏหมายคุ้มครองให้
หน้าที่ หมายถึง การที่บุคคลตกอยู่ในภาวะต้องกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ
ความรับผิดทางอาญา ต้องมีการกระทำ และต้องมีเจตนา ยกเว้นการกระทำโดยประมาท ก็ต้องรับผิด หากกฏหมายกำหนดให้เป็นความผิด
การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นด้วย
โทษอาญา มี 5 ประการ ได้แก่ (1) ประหารชีวิต (2) จำคุก (3) กักขัง (4) ปรับ (5) ริบทรัพย์สิน
สภาพบุคคลเริ่มเมื่อ คลอดและอยู่รอดเป็นทารก คือเด็กถูกตัดออกจากรก และมีลมหายใจแม้เพียง ครั้งเดียว
การตาย มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) ตายตามธรรมชาติ (2) ตายตามกฏหมาย คือการสาบสูญ ได้แก่หายไปจากภูมิลำเนากรณีปกติ 5 ปี กรณีสงคราม 2 ปี
ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
บรรลุนิติภาวะ มี 2 กรณี ได้แก่ (1) อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ (2) เมื่อทำสมรสตามกฏหมาย
ค่าสินไหมทางแพ่ง
เขียนโดย ลีลา LAWการดำเนินคดีในศาลแบ่งเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา คู่กรณีต้องการให้ลงโทษผู้กระทำผิดหรือสร้างความเสียหายแก่ตน คดีแพ่งและคดีอาญามีการลงโทษแตกต่างกัน คือ คดีอาญาจะเน้นการลงโทษที่ร่างกายของผู้กระทำความผิดเป็นหลัก เช่น โทษประหารชีวิต จำกัดอิสรภาพหรือพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคมหรือครอบครัว เป็นต้น ส่วนคดีแพ่งจะเน้นลงโทษโดยการบรรเทาหรือชดใช้ความเสียหายจากทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด เช่น จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือ บังคับทางทะเบียน เป็นต้น ดังนั้น การเลือกดำเนินคดีทางใดนั้น ผู้ฟ้องคดีต้องพิจารณาก่อนว่า ต้องการให้ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างไร พฤติกรรมเป็นเหตุให้ฟ้องคดีนั้นเข้าองค์ประกอบทางแพ่งหรือทางอาญา ศาลจะลงโทษไม่เกินกว่าที่ร้องขอหรือไม่ขัดต่อกฎหมายกรณีคดีแพ่งซึ่งจะลงโทษด้วยการให้ชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายจากทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดนั้น ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องได้และได้รับจริงไม่เท่ากับที่ร้องขอไป หลายคนสงสัยว่าเหตุใดศาลจึงไม่ให้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ร้องขอ ศาลมีอำนาจเพิ่มหรือลดค่าเสียหายได้หรือไม่ คำตอบมีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดอนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วยข้อบัญญัติเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายกำหนดชัดว่าเป็นอำนาจของศาลจะใช้ดุลพินิจว่าค่าสินไหมทดแทนควรเป็นเท่าไร แต่ต้องไม่เกินกว่าคำฟ้องหรือร้องของโจทก์ อีกทั้งยังบอกด้วยว่าค่าสินไหมทดแทนได้แก่ การคืนทรัพย์สิน การใช้ราคาทรัพย์สิน และ ค่าเสียหายรูปแบบอื่นที่ใช้บังคับชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมิใช่เงินก็ได้ หลายครั้งจักเห็นคำสั่งศาลให้ผู้แพ้คดีต้องจ่ายเงินค่าลงประกาศขอโทษทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆเมื่อแพ้คดีละเมิดหรือหมิ่นประมาท ซึ่งกระทำได้เพราะกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลเพื่อชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายจากการกระทำความผิดทางแพ่งกรณีการเรียกค่าเสียหายที่หลายคนสงสัยว่า เหตุใดร้องขอไปจำนวนหนึ่ง แต่ศาลอาจให้น้อยกว่าที่ร้องขอก็ได้ คำตอบคือ การพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลที่วินิจฉัยตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง ที่รับฟังจากการพิจารณาคดีซึ่งโจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า ได้รับความเสียหายอย่างไร มากน้อยเพียงใด ตัวเลขที่ร้องขอสมเหตุสมผลกับข้อเท็จจริงอย่างไร ส่วนจำเลยมีสิทธิ์โต้แย้งค่าเสียหายนี้ได้ด้วยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหักล้างกับโจทก์ ศาลมีหน้าที่ให้ความยุติธรรมแก่โจทก์และจำเลยอย่างเสมอภาค หากศาลเห็นว่าโจทก์ร้องขอมากเกินสมควร ย่อมมีสิทธิ์ลดจำนวนเงินลงได้ หลายครั้งจึงมักเห็นว่าโจทก์ร้องขอค่าเสียหายหลายสิบล้านบาท แต่ศาลอาจตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายเพียงหลักแสนบาทก็ได้ถ้าเชื่อว่าความเสียหายของโจทก์ไม่มากอย่างที่ยื่นขอไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานพิสูจน์ของโจทก์และจำเลยเป็นหลัก ส่วนใหญ่คดีแพ่งนั้นโจทก์มักเรียกค่าเสียหายจำนวนสูงไว้ก่อน เพราะศาลจะเป็นผู้กำหนดค่าเสียหายในคดีดังกล่าว ข้อสังเกตสำหรับการฟ้องคดีแพ่งคือ ยิ่งผู้เสียหายเป็นคนหรือบริษัทมีชื่อเสียงมากเพียงใด ค่าเสียหายที่จักได้รับหากชนะคดีต้องสูงขึ้นไปด้วยเหตุมูลค่าของชื่อเสียงนั่นเอง สิ่งพึงระลึกให้มั่นในใจคือ จงหลีกเลี่ยงการมีคดีในศาลไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา เพราะนอกจากแพ้คดีแล้วต้องจ่ายค่าสินไหมจำนวนสูง ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะท่านต้องจ่ายค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมดำเนินคดีในศาล ค่าใช้จ่ายจิปาถะ จนกว่าคดีสิ้นสุด สิ่งสุดท้ายที่มักลืมคิดถึง คือ ค่าเสียเวลาไปขึ้นศาลหรือปรึกษาคดีกับทนายความเป็นระยะซึ่งตีค่าเป็นตัวเงินไม่ชัดเจนนัก วิธีป้องกันดีที่สุด คือ ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของคนไทยเป็นพื้นฐาน ถ้ากระทำตามอย่างถูกขั้นตอน จักได้รับความคุ้มครองดูแลจากกฎหมาย การหลีกเลี่ยงหรือมักง่าย จักต้องรับความเสี่ยงในการสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยตนเป็นผู้รับความเสียหายเพียงคนเดียว แทนที่คู่สัญญาอีกฝ่ายจะต้องรับผิดชอบฝ่ายเดียวหรือร่วมรับความเสียหายด้วย หากต้องการหลีกเลี่ยงการมีคดีความในศาล คนไทยควรหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งหรืออาญาไว้เพื่อจะรู้ว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดเป็นเรื่องต้องห้าม ตัวอย่างเช่น หลักการทำสัญญาทางแพ่ง ความผิดอาญาที่อาจพบบ่อยในชีวิตประจำวัน สิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกกล่าวหาทางคดี ขอบเขตอำนาจของตำรวจ เป็นต้น กฎหมายกำหนดสิทธิ อำนาจของประชาชนคนไทยไว้ ถ้าไม่รักษาสิทธิ์ไว้ ไม่รู้จักใช้ จักกลายเป็นเหยื่อบริสุทธิ์ของผู้มีอำนาจที่ไม่ดีในสังคมได้ ความรู้มีอยู่รอบกาย สุดแต่ผู้ใดจักไขว่คว้าเก็บมาเป็นเกราะป้องกันภัยส่วนตัว สิ่งของอาจถูกฉกชิงไปจากตัวได้ แต่ความรู้เป็นสมบัติล้ำค่าส่วนตัวที่ไม่มีผู้ใดแย่งไปจากท่านได้*********************************
ค่าชดเชยในคดีอาญา
เขียนโดย ลีลา LAWท่านคงเคยสงสัยว่า เมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้น เช่น ข่มขืน ฆ่าคนตาย ทิ้งเด็กไว้ในถังขยะ ทอดทิ้งคนชราในประการที่อาจเกิดอันตรายแก่ชีวิต เป็นต้น ถ้าจับผู้กระทำผิดได้ จักถูกลงโทษตามหลักกฎหมายนั้นๆ แล้วผู้เสียหายหรือทายาทของเขาจะไม่ได้รับการทดแทนใดๆเหมือนในคดีแพ่งบ้างหรือ เพื่อความยุติธรรมและเมตตาจิตของรัฐ จึงออกกฎหมายเพื่อชดเชยความสูญเสียของผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาที่อาจถูกใส่ร้ายในคดี ต่อมาศาลได้พิพากษาให้พ้นผิด แต่เขาได้สูญเสียหรือเสียหายจากกระบวนการยุติธรรมของรัฐไปแล้ว ดังเช่น การจับและฟ้องผู้ต้องหาผิดคนในดคีฆ่าเชอรี่แอน ดังแคน ซึ่งทำลายครอบครัวจำเลยไปหลายคน บางคนก็ตายไประหว่างการจำขัง เป็นต้นพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 มีผลใช้ในทางปฏิบัติได้ประมาณต้นปี 2545 นี้ ซึ่งรัฐจักช่วยชดเชยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ไม่รวมถึงกรณีที่เอกชนฟ้องคดีกันเองบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าทดแทนได้ คือ 1. ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น2. จำเลย หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลว่าได้กระทำผิดอาญา และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย คือ 1. ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ2. ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี3. ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้กระทำผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือ ปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานความผิดที่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย คือ 1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 ถึง มาตรา 287 เช่น ข่มขืนหญิงหรือเด็ก ทำอนาจารเด็ก ล่อลวงในทางเพศ เป็นต้น2.ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 ถึง มาตรา 294 เช่น การฆ่าผู้อื่น ประมาททำให้คนอื่นตาย เป็นต้น3. ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 ถึง มาตรา 300 เช่น ทำร้ายร่างกาย ชุลมุนต่อสู้แล้วมีคนบาดเจ็บ ประมาทในการทำร้ายแล้วเกิดบาดเจ็บ เป็นต้น4. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301 ถึง มาตรา 305 เช่น การทำแท้งด้วยตนเอง หรือ ยอมให้ผู้อื่นทำแท้ง ทำแท้งโดยหญิงไม่ยินยอม หรือ ผิดเงื่อนไขของกฎหมาย เป็นต้น5. ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือ คนชรา มาตรา 306 ถึง มาตรา 308 เช่น ทิ้งเด็กทารกในถังขยะไม่ว่าเด็กจะตายหรือไม่ เป็นต้นลักษณะเงินชดเชยที่รัฐจ่ายให้ แยกเป็นกรณีเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา สิ่งที่ได้รับคือ1. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ2. ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตายเป็นจำนวนตามที่กฎกระทรวงกำหนด3. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ4. ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นๆตามที่กำหนดเห็นควรจำนวนค่าตอบแทนนั้น ต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำผิด และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมถึงโอกาสที่จะได้รับการบรรเทาโดยทางอื่นด้วยกรณีเป็นจำเลยในคดีอาญา จักได้รับ1. ค่าทดแทนการถูกคุมขัง2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล3. ค่าทดแทนกรณีจำเลยถึงแก่ความตาย และ ความตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดี5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดีจำนวนค่าทดแทนจักได้รับเพียงใดหรือไม่ ต้องคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดี ความเดือดร้อนที่จำเลยได้รับและโอกาสที่จำเลยจะได้รับการชดเชยความเสียหายทางอื่นด้วยระยะเวลาในการยื่นคำขอ คือ ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำผิด หรือ วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ วันที่มีคำพิพาษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดผู้มีหน้าที่รับคำร้องและพิจารณาเรื่อง คือ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ ของสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมการยื่นอุทธรณ์ เมื่อไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย โดยอาจยื่นต่อสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินฯ หรือ ศาลจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเพื่อส่งให้แก่ศาลอุทธรณ์ก็ได้ข้อเตือนใจในการใช้สิทธิเรียกร้องนี้1. การยื่นคำขอรับค่าตอบแทนตามกฎหมายนี้ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ2. การให้ถ้อยคำหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ต่อคณะกรรมการฯหรือพนักงานสอบปากคำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ3. การไม่ยอมให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันควร มีโทษจำคุก 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับดังนั้น เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมและเป็นคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ อาจใช้สิทธิต่างๆซึ่งรัฐมอบให้ เพื่อหวังบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหายจากคดีได้ แต่มิใช่เพื่อให้คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไป เพราะหลายอย่างที่เสียหายก็มิอาจตีราคาเป็นเงินได้รู้สิทธิ ใช้สิทธิ บรรเทาได้ผู้ถูกจับควรรู้
เขียนโดย ลีลา LAWกฎหมายมีการปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไทยซึ่งมุ่งเน้นกำหนดสิทธิและคุ้มครองคนบริสุทธิ์มาเป็นระยะเพื่อให้โอกาสพิสูจน์ข้อกล่าวหาความผิดอย่างยุติธรรมที่สุด ดังนั้น คนไทยจึงควรรับทราบและใช้สิทธิดังกล่าวที่กฎหมายมอบไว้อย่างเต็มที่ หลายท่านอาจสงสัยว่า เมื่อถูกกล่าวหาและตำรวจจับตามที่ผู้ร้องทุกข์แจ้งความไว้ พวกเขาจะได้ความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างไร หรือผู้ถูกกล่าวหาจะถือเป็นนักโทษจับขังคุกได้เลย ปัจจุบันนี้กฎหมายกำหนดสิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกจับไว้ชัดและตำรวจมิอาจทำละเมิดได้สิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกจับประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 บัญญัติว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพน้กงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย1. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว2. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน3. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร4. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งจากหลักกฎหมายข้างต้นแม้จะกำหนดการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ ผู้ถูกจับอาจเรียกร้องเองก็ได้ สิทธิดังกล่าวมีจุดประสงค์ป้องกันการข่มขู่ บังคับ ซ้อมทำร้ายเพื่อให้ผู้ถูกจับให้การตามความต้องการของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่มีจิตทุจริตสิทธิการจับผู้ต้องหาประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 57 วรรค 1 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 มาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือ ค้นในที่รโหฐาน หาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้นกฎหมายกำหนดให้การจับ ขัง หรือจำคุก ต้องมีหมายของศาลเพื่อทำการนั้น โดยต้องปรากฏหลักฐานตามสมควรให้ศาลเชื่อว่ามีเหตุควรออกหมายจับด้วย จึงเป็นการช่วยกลั่นกรองและป้องกันการทำงานพลั้งพลาดหรือการใส่ร้ายคนบริสุทธิ์อันเกิดจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ส่วนผู้ที่ร้องขอหมายจับได้ กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองระดับสามขึ้นไปหรือตำรวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปด้วยเหตุออกหมายจับประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 บัญญัติว่า เหตุที่จะออกหมายจับได้ มีดังต่อไปนี้1. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ2. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนีนอกเหนือจากการใช้หมายจับตามปกติแล้ว ตำรวจยังมีอำนาจในการจับผู้ร้ายที่กระทำผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องรอหมายจับ เพื่อป้องกันผู้บริสุทธิ์และสร้างความสงบให้บ้านเมือง เช่น การชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักลอบขนยาเสพย์ติด ค้าประเวณี เป็นต้น มาตราข้างต้นได้กำหนดลักษณะพฤติกรรมการหลบหนีของผู้ต้องหาซึ่งศาลอาจออกหมายจับให้ชัดเจนและทำได้รวดเร็วขึ้นสิทธิการให้ถ้อยคำของผู้ถูกจับกฎหมายกำหนดว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับก่อน นั่นคือ นับแต่นี้ไปเมื่อตำรวจจับผู้ต้องหา จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและบอกสิทธิของเขาให้รับทราบว่า เขามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิจะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความนอกจากนั้นกฎหมายยังบัญญัติคุ้มครองการป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ผู้จับซึ่งกระทำได้ตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับ หากบุคคลซึ่งจะถูกจับ ขัดขวาง หรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี อีกทั้งกำหนดยืนยันว่าหน้าที่พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา อยู่ที่ฝ่ายโจทก์ มิใช่การอาศัยคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวหลักกฎหมายใหม่ออกมารับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญไทยเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา และส่งเสริมให้คนไทยมีสิทธิพบนักกฎหมายซึ่งมีความรู้ทัดเทียมกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพื่อคอยดูแลให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเหมาะสม สุดท้ายคือ ศาลซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมจะเป็นผู้กลั่นกรองการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อลดทอนอิสรภาพของคนไทยอย่างรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง สิ่งสำคัญที่เราควรจดจำ คือ ควรร้องขอใช้สิทธิซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดไว้ โดยไม่จำต้องอดทนหรือยอมถูกกดขี่จากผู้มีอำนาจ เนื่องจากตอนนี้กฎหมายได้เขียนสิทธิของคนไทยในเรื่องข้างต้นไว้อย่างชัดเจน ไม่ต้องตีความใดๆอีก และชาวบ้านธรรมดาหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน หากทุกคนรู้จักใช้สิทธิตามกฎหมาย จักเป็นการช่วยป้องกันการใช้อำนาจมิชอบของเจ้าหน้าที่บางคนได้และเป็นการเตือนล่วงหน้าว่า ท่านจักร้องเรียนหรือฟ้องคดีต่อไป หากมีการทำละเมิดสิทธิของท่าน ทำให้เขาจำต้องหยุดยั้งพฤติกรรมไม่ดีที่คิดทำไว้ด้วยเกรงมีผลต่ออาชีพหรืออนาคตในหน้าที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหาก่อนเข้าสู่การดำเนินคดีในศาลพระปล่อยเงินกู้ได้ไหม ?
เขียนโดย ลีลา LAWสถานะของแต่ละบุคคลมีส่วนกำหนดบทบาทของเขาในสังคมได้ แต่กฎหมายให้ความรับรองทุกคนมีสิทธิตามกำหนดไว้เท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงว่า เขาจักมีฐานะหรือบทบาทเช่นไร ขอเพียงมีองค์ประกอบครบตามกำหนดในกฎหมาย เขาจะได้รับความยุติธรรมเสมอกัน หลายท่านอาจเคยเห็น เคยได้ยิน หรือประสบด้วยตนเองว่า มีพระภิกษุให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ขัดสนเงินทองด้วยการคิดดอกเบี้ยด้วย นอกเหนือจากหน้าที่เผยแพร่พุทธศาสนาแก่ชาวบ้านแล้ว คำถามที่ตามมาคือ พระภิกษุสามารถเป็นเจ้าหนี้ปล่อยกู้เยี่ยงเดียวกับบุคคลทั่วไปได้หรือไม่ เหมาะสมกับความเป็นภิกษุผู้น่าศรัทธาเพียงใดมีกรณีศึกษาที่เกิดคำถามข้องใจข้างต้น แล้วแสวงหาคำตอบให้ชัดเจนได้โดยผ่านกระบวนการทางศาล ดังนี้คือ วันหนึ่ง นายบอน เกิดภาวะขัดสนทางการเงินอย่างหนัก และด้วยความที่มีศรัทธาต่อวัดใกล้บ้านสม่ำเสมอ จึงนำเรื่องไปปรึกษากับ ภิกษุกว้าง ซึ่งคุ้นเคยกันมานาน และมีคำปลอบใจให้ต่อสู้ชีวิตอย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งเสนอจะให้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง โดยคิดดอกเบี้ยไม่แพงในฐานะคนรู้จักกัน เวลานั้นเขาซาบซึ้งน้ำใจและทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวทันที จึงทำให้คลี่คลายปัญหาด้านการเงินได้อย่างสบายใจ เวลาผ่านไปหลายเดือน เขาขาดส่งดอกเบี้ยบ่อยครั้งมาก ภิกษุกว้างจึงทวงถามขอให้จ่ายคืนเงินกู้ทั้งหมด เขาจึงอ้างว่าพระภิกษุไม่มีสิทธิปล่อยเงินกู้แล้วคิดดอกเบี้ย การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน การให้กู้เงินแก่นายบอนเป็นโมฆะ และไม่ต้องชดใช้หนี้ใดๆ ในที่สุดภิกษุกว้างได้ฟ้องคดีต่อศาลซึ่งได้ตอบคำถามข้องใจตามที่นายบอนอ้าง ดังคำพิพากษาฎีกาที่ 3773/2538 ซึ่งศาลได้พิจารณาคำฟ้องและคำให้การของคู่กรณีทั้งสองแล้ว เห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดห้ามพระภิกษุนำเงินส่วนตัวของตนออกให้บุคคลอื่นกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย พระภิกษะเป็นบุคคล ย่อมมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด พระภิกษุย่อมมีสิทธิเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยคืนได้ ด้วยคำพิพากษาดังนี้ทำให้นายบอนจำต้องชดใช้หนี้เงินแก่ภิกษุกว้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้ในที่สุด มิอาจบิดพลิ้วเล่นลิ้นหมายจะเบี้ยวหนี้ได้อีกต่อไปบุคคลตามกฎหมาย ย่อมได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด สำหรับผู้เป็นพระภิกษุซึ่งมีสถานะทางสังคมที่สูง และ ความรู้สึกของประชาชนต่างให้ความศรัทธา ย่อมต้องมีสติพิจารณามากกว่าคนทั่วไปว่า สมควรกระทำสิ่งนั้นหรือไม่ แม้กฎหมายจะยอมให้ทำได้ก็ตาม การกระทำของภิกษุแต่ละรูป ย่อมสร้างเสริม หรือ ทำลาย ภาพพจน์และสถานะน่าศรัทธาในสังคมโดยรวมซึ่งอาจกระทบถึงพระภิกษุทั้งหมดได้ ถ้าประชาชนหมดศรัทธา พุทธศาสนาย่อมอ่อนแอ วินัยสงฆ์เป็นกฎเข้มแข็งในการดูแลพระภิกษุให้ประพฤติในสิ่งที่ดี ที่ชอบ กอปรกับจิตสำนึกของความเป็นพระภิกษุที่ดีของพุทธศาสนา ย่อมทำให้ตระหนักแก่ใจได้ว่า สมควรปล่อยเงินกู้ คิดดอกเบี้ยในขณะที่ครองจีวรเป็นพระภิกษุหรือไม่เจ้าของกับคดีบุกรุก
เขียนโดย ลีลา LAWหลายท่านซึ่งมีบ้านหรือที่ดินไว้ให้เช่าอาจเคยประสบปัญหาผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่าและยังคงอยู่ต่อไปอย่างท้าทาย หรือ ทำละเมิดสัญญาเช่าข้ออื่นอันเป็นเหตุให้เจ้าของจำต้องให้ออกจากสถานที่เช่า แต่ผู้เช่ามีทีท่าดื้อดึงไม่ยอมออกง่ายๆ บางท่านถึงขั้นเข้าไปขนย้ายข้าวของซึ่งเป็นของผู้เช่าออกไปจากบ้าน ทำให้ถูกแจ้งความดำเนินคดีบุกรุกกับตำรวจ เจ้าของบ้านกลับกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกไปในท้ายที่สุดก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับความผิดอาญาฐานบุกรุกซึ่งบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ว่า ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับกรณีตัวอย่างในที่นี้ คือ การเช่าบ้าน เมื่อมีการทำละเมิดสัญญาเช่า เช่น ค้างค่าเช่า ก่อความเสียหายแก่บ้านเช่าเกินเหตุ เป็นต้น หากผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ผู้เช่าออกไป แต่เขายังดื้อดึงอยู่อาศัยต่อไป ทำให้ผู้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเดือดดาลใจจนกระทั่งบุกเข้าไปรื้อย้ายสิ่งของที่เป็นของผู้เช่าในบ้านพิพาท ขอให้พึงเข้าใจด้วยว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการเข้าไปกระทำการใดๆเพื่อรบกวนการครอบครองบ้านพิพาทของผู้เช่าโดยปกติสุข อันเป็นการกระทำผิดฐานบุกรุกทันที แม้ว่าท่านจะเป็นเจ้าของบ้านก็ตาม เพราะการขับไล่ออกจากบ้านเช่าหลังจากเลิกสัญญาเช่าอันเป็นกรณีทางแพ่งต้องกระทำตามขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้น นอกเหนือจากผู้เช่ายอมปฏิบัติตามเองแล้ว เจ้าของบ้านต้องฟ้องคดีขับไล่โดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้บ้านคืนมา ทำให้ผู้เช่าอาศัยบ้านเช่าต่อไปจนกว่าคดีจะสิ้นสุดซึ่งอาจสร้างความอึดอัดใจแก่เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอย่างมาก กฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้สุจริต จึงมีหนทางบรรเทาความเสียหายไว้เช่นกัน ดังนั้น ศาลมีคำพิพากษาฎีกาสำหรับกรณีดังกล่าว คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 3025/2541 ข้อตกลงล่วงหน้าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าที่ว่า หากผู้เช่าทำผิดสัญญาข้อใด จักยินยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองห้องเช่าได้ทันที ใช้บังคับกันได้ ดังนั้น ผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจใช้สิทธิเข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่ให้เช่าได้โดยชอบตามที่ตกลงกันไว้กรณีศึกษาข้างต้นนี้ คงเป็นวิธีการหนึ่งในการปกป้องสิทธิของผู้ให้เช่าในการดูแลทรัพย์สินของตัวเองได้ดีกว่าการใช้กำลังแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำให้ท่านต้องถูกดำเนินคดีบุกรุกบ้านของตัวเอง ดังนั้น ในการทำสัญญาเช่าทุกครั้ง ผู้ให้เช่าพึงกำหนดสิทธิดังกล่าวไว้ในสัญญาเช่าเพื่อป้องกันการถูกฟ้องคดีบุกรุกให้ต้องเจ็บใจภายหลัง และพึงระลึกด้วยว่า กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเสมอ ทุกวิธีซึ่งใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งกันต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมาย สังคมจึงสงบสุขได้เข้าง่าย ออกยาก
เขียนโดย "ลีลา LAW"“คนมีน้ำใจ มักสร้างศัตรูได้ง่าย” เป็นประโยคที่มีความนัยสำคัญ เนื่องเพราะหลายท่านอาจเคยประสบกับตัวเองมาแล้ว เช่น ให้เพื่อนอาศัยในบ้านหรือที่ดินด้วยความสงสาร ต่อมาเกิดความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ จึงขอร้องให้เขาออกไป ทั้งสองต้องโกรธกันเพราะเพื่อนรู้สึกสบายแล้ว ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า จึงไม่ยอมออกจากบ้านหรือที่ดินนั้น ทำให้บาดหมางกันจนกลายเป็นศัตรูไปเลย เป็นต้น บางท่านต้องปวดหัวกับการที่เพื่อนสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีกด้วยการฟ้องเรียกค่าเสียหายในการต้องย้ายออกจากบ้านของท่าน ทำให้เจ็บใจยิ่งนัก และคงอยากทราบว่านอกจากเสียน้ำใจแล้ว ยังต้องจ่ายเงินให้เพื่อนทรพีคนนั้นอีกไหม มันเป็นคำถามชวนคิดมากสังคมไทยคนมีน้ำใจแบบนี้ต้องพบปัญหาเช่นนี้บ่อยครั้ง หลายท่านต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมจากศาล จนกระทั่งได้รับคำตอบ ดังกรณีศึกษาของ คำพิพากษาฎีกาที่ 1170/2543 คือ นายรวย มีที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในขณะนั้น ด้วยความมีน้ำใจและเป็นเพื่อนกัน จึงยอมให้ นายจน ซึ่งมีอาชีพปลูกต้นไม้ แต่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเข้าใช้ที่ดินของเขาในการเพาะชำต้นไม้ โดยไม่เรียกค่าตอบแทน และไม่มีกำหนดเวลาด้วย เพียงตกลงด้วยวาจากันว่า หากนายรวยต้องการใช้ที่ดินเมื่อใด ขอให้แจ้งนายจนทราบล่วงหน้าพอสมควร เวลาล่วงเลยได้ปีเศษนายรวยได้แจ้งขอให้ส่งคืนที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์และให้เพื่อนออกภายใน 2 วัน นายจนไม่พอใจและไม่ยอมออกจากที่ดินโดยดี หนึ่งเดือนหลังจากได้รับแจ้งให้ออกจากที่ดินนั้น เพื่อนคนนี้จึงยอมย้ายออกโดยนายรวยมิได้มีการเร่งรัดด้วยวิธีใดระหว่างหนึ่งเดือนนั้นเลย แต่เขาต้องขุ่นเคืองใจหนัก เมื่อนายจนฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการต้องย้ายออกจากที่ดินของนายรวย ด้วยอ้างว่า เขาถูกกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงของทั้งสองฝ่าย จึงตัดสินคดีว่า นายรวยยอมให้นายจนเข้าใช้ที่ดินเป็นการชั่วคราวในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งโดยไม่มีกำหนดเวลา ไม่มีค่าตอบแทนอย่างใด เมื่อมีการบอกกล่าวไม่อนุญาตให้ใช้ที่ดินอีกต่อไป โดยให้เวลาย้ายเพียง 2 วัน อันเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้นไป แต่ข้อเท็จจริง คือ ตลอดเวลา 1 เดือนก่อนการย้ายออกจริงของนายจนนั้น มิได้มีการบีบคั้นด้วยวิธีใดจากนายรวยเลย นั่นถือว่าเจ้าของที่ดินได้ให้เวลาล่วงหน้าพอสมควรเพื่อการย้ายออกแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยทุจริต ไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อนายจนเลย เมื่อมิได้มีการกลั่นแกล้งให้ย้ายออก แม้มีความเสียหายเกิดแก่นายจนบ้าง นายรวยก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกร้องมาในคดีนี้เลยจากกรณีศึกษาข้างต้น แม้คนมีน้ำใจจะถูกรังแกเพียงใด ความยุติธรรมยังมีอยู่ ศาลจึงลงโทษเพื่อนทรพีมิให้ได้เงินค่าเสียหายเนื่องจากจิตใจไม่สุจริตของนายจน ดังคำที่ว่า ภายใต้กฎหมาย ผู้มาศาลด้วยความสุจริตใจ ย่อมได้รับความยุติธรรมเสมอ หวังว่าผู้มีน้ำใจมิควรท้อแท้ในการทำความดีต่อคนรอบข้าง “น้ำใจ” มีคุณค่าเกินจะประเมินเป็นตัวเงินได้ และในปัจจุบันยังต้องการคนมีน้ำใจเพื่อค้ำจุนสังคมไทยให้มั่นคงอีกจำนวนมากตกงานโดยไม่ได้เงินชดเชย
การทำงาน เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงต้องทำ เพื่อหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ ยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้น ทุกคนมักระมัดระวังตนมิให้ต้องถูกเลิกจ้าง แต่บางคนต้องตกงานเนื่องจากได้ร่วมประท้วงและนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องต่างๆของเขา เหตุใดเขาจึงสูญเสียหน้าที่การงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆเหมือนเช่นการออกจากงานของลูกจ้างอื่นๆ คำตอบคือ บางกรณีการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องจากนายจ้างได้กระทำผิดขั้นตอนของกฎหมาย จึงต้องสูญเสียงานไปอย่างน่าเสียดายยิ่งกรณีศึกษาซึ่งเป็นบทเรียนอันหนึ่งใช้เตือนใจแก่ลูกจ้างที่คิดจะนัดหยุดงาน แล้วอาจตกงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ได้มีการฟ้องคดีแรงงานระหว่างคนงาน 60 คนกับนายจ้างเจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค ซึ่งได้บอกเลิกจ้างพวกเขาโดยไม่จ่ายเงินชดเชยเลย จนกระทั่งมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1589-1650/2543 มีรายละเอียดดังนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คนงาน 60 คน นัดหยุดงานเพื่อประท้วงและบังคับนายจ้างให้ยอมรับเงื่อนไขของตนในวันที่ 6 ตุลาคม 2540 เวลา 8 นาฬิกาเศษ โดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งตามมาตรา 34 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ จากการสืบพยานได้ความจริงว่า มีการยื่นหนังสือแจ้งนัดหยุดงานต่อนายสอง พนักงานรักษาความปลอดภัยของนายจ้างในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 เวลา 7 นาฬิกาเศษ ซึ่งยังไม่ถือว่า แจ้งล่วงหน้าครบตามเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การนัดหยุดงานของคนงาน 60 คน จึงถือเป็นการละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติและย่อมก่อความเสียหายแก่นายจ้างได้ เพื่อความยุติธรรมของทั้งสองฝ่ายกฎหมายจึงได้บัญญัติว่า ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ ต่อเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กระทำตามใจตนเองได้ เมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้งตามมาตรา 34 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ การนัดหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวเมื่อคนงาน 60 คน นัดหยุดงานโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จึงถือว่า เป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้เมื่อนายจ้างบอกเลิกการจ้าง ซึ่งระบุอยู่ในมาตรา 119 (5) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สรุปได้ว่า คดีนี้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างคนงาน 60 คน โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย พวกเขาจึงตกงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆด้วยเหตุผลดังกล่าวกรณีศึกษาข้างต้นทำให้เห็นได้ว่า ก่อนจะนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องสิ่งใดจากนายจ้าง ขอให้ศึกษาขั้นตอนของกฎหมายให้แน่ใจ แล้วกระทำไปทุกขั้นตอน และให้ความสำคัญต่อระยะเวลา โดยเฉพาะเศษวินาทีก็ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เมื่อคิดจะเรียกร้องสิ่งใด ควรเริ่มจากการเสนอให้นายจ้างทราบก่อน มิใช่การข่มขู่ แล้วทำการเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ หากเจรจาไม่สำเร็จ ถือว่า ได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเขาจักเรียกทั้งสองฝ่ายมาเจรจาอีกครั้งภายใน 5 วัน นับแต่วันที่เขาได้รับหนังสือแจ้ง เมื่อไม่อาจตกลงกันได้ จักถือว่า เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่สำคัญมาก คือ ก่อนการนัดหยุดงาน ต้องแจ้งเวลานัดหยุดงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและนายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้ง ถ้าทำผิดคลาดเคลื่อนเรื่องเวลา แม้แต่วินาทีเดียว ท่านอาจถูกไล่ออกจากงานโดยกฎหมายรับรองว่า นายจ้างสามารถทำได้ สิ่งที่บอกเล่ามาเป็นขั้นตอนโดยสังเขปซึ่งพึงระวังไว้ หากมีความคิดจะประท้วงนายจ้าง กฎหมายมิได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเท่านั้น นายจ้างก็ได้รับความยุติธรรมด้วยเช่นกัน ดังนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่า กฎหมายคุ้มครองและให้ความยุติธรรมได้ ต่อเมื่อท่านปฏิบัติตามทุกขั้นตอนอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้นครอบครองปรปักษ์
เขียนโดย "ลีลา LAW"บางท่านอาจเคยได้ยินหรือได้พบกับปัญหาแปลกนี้ก็ได้ นั่นคือ ทรัพย์สิน อาทิเช่น ตึก ที่ดิน หรือ เครื่องเพชร เป็นต้น เราเป็นคนซื้อ หรือ มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนด แต่วันหนึ่งกลับกลายเป็นของผู้ที่เราเคยฝากให้ดูแลทรัพย์สิน ทั้งที่ผู้นั้นมิใช่คนซื้อ กรณีเช่นนี้มีทางเป็นไปได้ เมื่อเจ้าของขาดการเอาใจใส่ต่อทรัพย์สินของตัวเอง ทำให้ผู้ครอบครองแทนคิดเข้าข้างตัวเองว่า เขาควรเป็นเจ้าของต่างหาก กอปรกับพึงพอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นมานานปี จึงอาศัยหลักเกณฑ์ของกฎหมายสร้างโอกาสแย่งชิงจากเจ้าของแท้จริงซึ่งก่อเกิดความเคียดแค้นชิงชังต่อกันตามมาเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจึงขอนำกรณีศึกษามาเสนอให้ได้ขบคิดและพึงระวังตนไว้ ดังนี้คือ นายดี ทำมาหากินจนกระทั่งมีฐานะดี จึงซื้อที่ดินและตึกแถวไว้มากมายอยู่ในหลายจังหวัด เนื่องจากเขาอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด และด้วยความเห็นใจเพื่อนซึ่งยากจน คือ นายกาก จึงให้อาศัยในตึกแถวย่านสุขุมวิทและช่วยดูแลผู้เช่าตึกแทนเขาด้วย ต่อมาเขาเกิดเสียชีวิตกะทันหัน ทายาทของนายดีจึงเริ่มตรวจสอบทรัพย์สินของเขา แต่นายกาก ไม่ยอมให้ทายาทของนายดีเข้าไปในตึกแถวของบิดา โดยอ้างว่าเขาได้กรรมสิทธิ์ในตึกนี้โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงมิใช่มรดกของนายดี หลังจากต่อสู้กันในศาลเป็นเวลานาน ผลการตัดสินคดีสร้างความตกใจและขุ่นเคืองแก่ทายาทของนายดีอย่างมาก เมื่อตึกแถวที่นายดีซื้อมาต้องเปลี่ยนเจ้าของไปเป็นของนายกาก เพื่อนทรยศของบิดา เนื่องจากตลอดเวลาสิบกว่าปีนายกากได้แสดงตนเป็นเจ้าของตึกต่อบุคคลภายนอกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บค่าเช่า กำหนดค่าเช่ารายปี ดูแลตึก คัดเลือกผู้เช่าและทำสัญญาเช่าโดยอ้างตนว่าเป็นเจ้าของ เป็นต้น ส่วนนายดีไม่เคยมาที่ตึกหลังนี้เลยหลังจากที่มอบหมายให้นายกากดูแลแล้ว อีกทั้งไม่มีการแสดงคัดค้านอย่างใดต่อการกระทำของนายกากซึ่งแสดงตนเปิดเผยโดยเจตนาว่าเป็นเจ้าของตึกอันมีมูลค่ามหาศาลนี้เลยจนกระทั่งเวลาล่วงเลยไปกว่า 20 ปี แม้แต่ทายาทก็มิได้รับรู้เรื่องตึกหลังนี้เลยเพราะนายดีเป็นผู้เก็บโฉนดไว้เพียงคนเดียวเท่านั้น จึงมีผลให้นายกากได้กรรมสิทธิ์ในตึกหลังนี้โดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยผลของกฎหมาย ทายาทของนายดีต้องสูญเสียทรัพย์สินชิ้นนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนหนึ่งก็มาจากความไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึงของนายดีนั่นเอง ด้านนายกากกลับมีโชคลาภที่ได้ตึกแถวราคาสูงเป็นของเขา ทั้งที่มิเคยต้องจ่ายเงินซื้อหามาเลย จึงกลายเป็นเศรษฐีชั่วพริบตาหลายท่านอาจคิดว่า กฎหมายไม่ให้ความยุติธรรมแก่ทายาทของนายดีเลย แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว จักเห็นว่า ถ้านายดีมิได้ละเลยต่อการตรวจสอบ ดูแล ทรัพย์สินทั้งหมดของเขา ย่อมไม่เปิดโอกาสให้นายกากสามารถช่วงชิงตึกแถวหลังนี้ไปได้แน่นอน มันจึงเป็นเสมือนการลงโทษแก่ผู้ที่ตั้งตนอยู่ในความประมาท กรณีศึกษานี้ทำให้เราพึงสังวรไว้ว่า ไม่ควรวางใจใครเกินไป ควรรอบคอบและระวังตนอยู่เสมอ รู้จักคุณค่าของเวลา เราจักไม่สูญเสียสิ่งใดไปให้ต้องเจ็บใจภายหลัง ข้อควรพึงเตือนใจไว้สำหรับกรณีนี้คือ ที่ดินหรือตึกแถวถูกครอบครองเกิน 10 ปี และ เครื่องเพชรหรือรถยนต์หรือทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ถูกครอบครองเกิน 5 ปี มันอาจต้องเปลี่ยนเจ้าของไป ถ้าผู้ครอบครองได้ครองทรัพย์สินเหล่านั้นโดยความสงบ โดยเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เงื่อนเวลาเหล่านี้จึงมีความสำคัญยิ่ง ดังนั้น ท่านน่าจะลองหันไปสำรวจทรัพย์สินในมืออย่างละเอียดสักครั้ง เพื่อตรวจดูว่า ท่านยังเป็นเจ้าของอยู่หรือไม่ยืมแล้วยึดสังคมเป็นที่รวมกันของมนุษย์มากหลาย สิ่งหนึ่งที่มนุษย์พึงมีให้ต่อกัน คือ ความมีน้ำใจ ซึ่งจักทำให้สังคมอยู่สงบสุข มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แต่หลายคราผู้มีน้ำใจมักถูกเอาเปรียบจากคนที่เห็นแก่ตัว จึงเกิดความขัดแย้งต่อกันจนต้องพึ่งพาอำนาจศาลเพื่อความยุติธรรมกรณีศึกษาเกี่ยวกับผลตอบแทนของผู้มีใจดีจักเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่ผู้ที่เห็นแก่ตัวได้ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 1184/2543 นายตะกอน ยืมเครื่องมือก่อสร้างไปจาก นายเพิ่ม โดยมีบันทึกการยืมลงวันที่ 22 มิ.ย. วันที่ 3 และ 19 ก.ค. พ.ศ.2532 ระบุด้วยว่า จะนำมาส่งคืนเมื่อแล้วเสร็จหรือทวงถาม หลังจากวันยืมไปแล้ว นายเพิ่มมิได้พบนายตะกอนอีกเลย มาพบอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 นายเพิ่มทวงถามถึงเครื่องมือก่อสร้างที่ยืมไป แต่ได้รับการปฏิเสธการคืน จึงถือได้ว่า นายเพิ่มทราบแน่ว่า นายตะกอนครอบครองทรัพย์ของเขา แล้วมีเจตนาเบียดบังเอาเครื่องมือก่อสร้างของเขาไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่นายเพิ่มรู้เรื่องความผิดฐานยักยอกทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดในคดีนี้ อายุความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน จึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น เมื่อนายเพิ่มแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายตะกอนในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความตามที่นายตะกอนกล่าวอ้างอย่างใดตัวอย่างคดีนี้ชี้ให้เห็นข้อต่อสู้ของผู้ยืมซึ่งเน้นไปที่ระยะเวลาที่เจ้าของหมดสิทธิ์ฟ้องคดียักยอกทรัพย์ มิใช่ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้กระทำผิดคดีดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ระยะเวลามีความสำคัญต่อการฟ้องคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ยังมีผลต่อการแพ้ชนะคดีทั้งของโจทก์และจำเลยในศาลด้วย ดังนั้นข้อเตือนใจที่ได้จากคดีข้างต้นคือ ความผิดอันยอมความได้ในคดีอาญา เช่น ยักยอก ฉ้อโกง หมิ่นประมาท บุกรุก เป็นต้น ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นจักถือเป็นการขาดอายุความ ไม่อาจดำนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้เลย อายุความที่เริ่มต้นและสิ้นสุด จึงเป็นเรื่องสำคัญ
กฏหมาย แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ - พระราชบัญญัติ - พระราชกำหนด - พระราชกฤษฎีกา - กฏกระทรวง - กฏหมายที่ออกโดยหน่วยการปกรองท้องถิ่น ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับตำบล ฯลฯ
หากแบ่งตามหมวดหมู่ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ กฏหมายมหาชน กฏหมายเอกชน กฏหมายระหว่างประเทศ กฏหมายสังคม
กฏหมายมหาชน ได้แก่ (1) กฏหมายรัฐธรรมนูญ (2) กฏหมายปกครอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ฯ (3) กฏหมายอาญา เช่น ประมวลกฏหมาย พ.ร.บ. การพนัน ฯ
กฏหมายเอกชน ได้แก่ (1) กฏหมายแพ่งทั่วไป (2) กฏหมายพาณิชย์ (3) กฏหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ ฯลฯ
กฏหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ (1) กฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง (2) กฏหมายระหว่างแผนกคดีบุคคล (3) กฏหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น
กฏหมายสังคม ได้แก่ (1) กฏหมายแรงงาน (2) กฏหมายประกันสังคม ฯลฯ
หลักกฏหมายไม่มีผลย้อนหลัง กฏหมายจะต้องระบุวันที่บังคับใช้กฏหมายและไม่มีผลย้อนหลัง ยกเว้นจะระบุไว้ชัดเจน ว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงเมื่อใด
การตีความกฏหมาย แบ่งเป็น 2 ประการ ได้แก่- ตีความตามตัวอักษร หากใช้ภาษาธรรมดา ก็ตีความตามธรรมดา หากใช้ภาษาทางเทคนิค หรือคำศัพท์พิเศษ ก็ต้องตีความตามภาษาเทคนิคหรือคำศัพท์พิเศษ- ตีความตามเจตนารมย์ ต้องทราบถึงเจตนารมย์ในขณะร่างกฏหมายว่า ต้องการออกกฏหมายเพื่อฉบับนั้น ๆ เพื่ออะไร
การอุดช่องว่างของกฏหมาย (1) กรณีกฏหมายกำหนดวิธิการอุดช่องว่างไว้แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 (2) กฏหมายไม่ได้กำหนดวิธิการอุดช่องว่างของกฏหมายไว้ ก็ให้ใช้หลักทั่วไปในการอุดช่องว่าง แต่ในคดีอาญาจะอุดช่องว่างให้เป็นการลงโทษหรือเพิ่มโทษบุคคล ไม่ได้
สิทธิ คือ อำนาจที่กฏหมายให้แก่บุคคล หรือ ผลประโยชน์ที่กฏหมายคุ้มครองให้
หน้าที่ หมายถึง การที่บุคคลตกอยู่ในภาวะต้องกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ
ความรับผิดทางอาญา ต้องมีการกระทำ และต้องมีเจตนา ยกเว้นการกระทำโดยประมาท ก็ต้องรับผิด หากกฏหมายกำหนดให้เป็นความผิด
การกระทำโดยเจตนา ได้แก่ กระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นด้วย
โทษอาญา มี 5 ประการ ได้แก่ (1) ประหารชีวิต (2) จำคุก (3) กักขัง (4) ปรับ (5) ริบทรัพย์สิน
สภาพบุคคลเริ่มเมื่อ คลอดและอยู่รอดเป็นทารก คือเด็กถูกตัดออกจากรก และมีลมหายใจแม้เพียง ครั้งเดียว
การตาย มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) ตายตามธรรมชาติ (2) ตายตามกฏหมาย คือการสาบสูญ ได้แก่หายไปจากภูมิลำเนากรณีปกติ 5 ปี กรณีสงคราม 2 ปี
ผู้เยาว์ หมายถึง ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
บรรลุนิติภาวะ มี 2 กรณี ได้แก่ (1) อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ (2) เมื่อทำสมรสตามกฏหมาย
ค่าสินไหมทางแพ่ง
เขียนโดย ลีลา LAWการดำเนินคดีในศาลแบ่งเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา คู่กรณีต้องการให้ลงโทษผู้กระทำผิดหรือสร้างความเสียหายแก่ตน คดีแพ่งและคดีอาญามีการลงโทษแตกต่างกัน คือ คดีอาญาจะเน้นการลงโทษที่ร่างกายของผู้กระทำความผิดเป็นหลัก เช่น โทษประหารชีวิต จำกัดอิสรภาพหรือพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสังคมหรือครอบครัว เป็นต้น ส่วนคดีแพ่งจะเน้นลงโทษโดยการบรรเทาหรือชดใช้ความเสียหายจากทรัพย์สินของผู้กระทำความผิด เช่น จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย หรือ บังคับทางทะเบียน เป็นต้น ดังนั้น การเลือกดำเนินคดีทางใดนั้น ผู้ฟ้องคดีต้องพิจารณาก่อนว่า ต้องการให้ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างไร พฤติกรรมเป็นเหตุให้ฟ้องคดีนั้นเข้าองค์ประกอบทางแพ่งหรือทางอาญา ศาลจะลงโทษไม่เกินกว่าที่ร้องขอหรือไม่ขัดต่อกฎหมายกรณีคดีแพ่งซึ่งจะลงโทษด้วยการให้ชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายจากทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดนั้น ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่เรียกร้องได้และได้รับจริงไม่เท่ากับที่ร้องขอไป หลายคนสงสัยว่าเหตุใดศาลจึงไม่ให้ค่าเสียหายตามที่โจทก์ร้องขอ ศาลมีอำนาจเพิ่มหรือลดค่าเสียหายได้หรือไม่ คำตอบมีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดอนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วยข้อบัญญัติเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายกำหนดชัดว่าเป็นอำนาจของศาลจะใช้ดุลพินิจว่าค่าสินไหมทดแทนควรเป็นเท่าไร แต่ต้องไม่เกินกว่าคำฟ้องหรือร้องของโจทก์ อีกทั้งยังบอกด้วยว่าค่าสินไหมทดแทนได้แก่ การคืนทรัพย์สิน การใช้ราคาทรัพย์สิน และ ค่าเสียหายรูปแบบอื่นที่ใช้บังคับชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งอาจมิใช่เงินก็ได้ หลายครั้งจักเห็นคำสั่งศาลให้ผู้แพ้คดีต้องจ่ายเงินค่าลงประกาศขอโทษทางสื่อมวลชนแขนงต่างๆเมื่อแพ้คดีละเมิดหรือหมิ่นประมาท ซึ่งกระทำได้เพราะกฎหมายให้อำนาจแก่ศาลเพื่อชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายจากการกระทำความผิดทางแพ่งกรณีการเรียกค่าเสียหายที่หลายคนสงสัยว่า เหตุใดร้องขอไปจำนวนหนึ่ง แต่ศาลอาจให้น้อยกว่าที่ร้องขอก็ได้ คำตอบคือ การพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลที่วินิจฉัยตามพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง ที่รับฟังจากการพิจารณาคดีซึ่งโจทก์ต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า ได้รับความเสียหายอย่างไร มากน้อยเพียงใด ตัวเลขที่ร้องขอสมเหตุสมผลกับข้อเท็จจริงอย่างไร ส่วนจำเลยมีสิทธิ์โต้แย้งค่าเสียหายนี้ได้ด้วยการพิสูจน์ข้อเท็จจริงหักล้างกับโจทก์ ศาลมีหน้าที่ให้ความยุติธรรมแก่โจทก์และจำเลยอย่างเสมอภาค หากศาลเห็นว่าโจทก์ร้องขอมากเกินสมควร ย่อมมีสิทธิ์ลดจำนวนเงินลงได้ หลายครั้งจึงมักเห็นว่าโจทก์ร้องขอค่าเสียหายหลายสิบล้านบาท แต่ศาลอาจตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายเพียงหลักแสนบาทก็ได้ถ้าเชื่อว่าความเสียหายของโจทก์ไม่มากอย่างที่ยื่นขอไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานพิสูจน์ของโจทก์และจำเลยเป็นหลัก ส่วนใหญ่คดีแพ่งนั้นโจทก์มักเรียกค่าเสียหายจำนวนสูงไว้ก่อน เพราะศาลจะเป็นผู้กำหนดค่าเสียหายในคดีดังกล่าว ข้อสังเกตสำหรับการฟ้องคดีแพ่งคือ ยิ่งผู้เสียหายเป็นคนหรือบริษัทมีชื่อเสียงมากเพียงใด ค่าเสียหายที่จักได้รับหากชนะคดีต้องสูงขึ้นไปด้วยเหตุมูลค่าของชื่อเสียงนั่นเอง สิ่งพึงระลึกให้มั่นในใจคือ จงหลีกเลี่ยงการมีคดีในศาลไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญา เพราะนอกจากแพ้คดีแล้วต้องจ่ายค่าสินไหมจำนวนสูง ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะท่านต้องจ่ายค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมดำเนินคดีในศาล ค่าใช้จ่ายจิปาถะ จนกว่าคดีสิ้นสุด สิ่งสุดท้ายที่มักลืมคิดถึง คือ ค่าเสียเวลาไปขึ้นศาลหรือปรึกษาคดีกับทนายความเป็นระยะซึ่งตีค่าเป็นตัวเงินไม่ชัดเจนนัก วิธีป้องกันดีที่สุด คือ ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของคนไทยเป็นพื้นฐาน ถ้ากระทำตามอย่างถูกขั้นตอน จักได้รับความคุ้มครองดูแลจากกฎหมาย การหลีกเลี่ยงหรือมักง่าย จักต้องรับความเสี่ยงในการสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยตนเป็นผู้รับความเสียหายเพียงคนเดียว แทนที่คู่สัญญาอีกฝ่ายจะต้องรับผิดชอบฝ่ายเดียวหรือร่วมรับความเสียหายด้วย หากต้องการหลีกเลี่ยงการมีคดีความในศาล คนไทยควรหาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งหรืออาญาไว้เพื่อจะรู้ว่าสิ่งใดทำได้ สิ่งใดเป็นเรื่องต้องห้าม ตัวอย่างเช่น หลักการทำสัญญาทางแพ่ง ความผิดอาญาที่อาจพบบ่อยในชีวิตประจำวัน สิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกกล่าวหาทางคดี ขอบเขตอำนาจของตำรวจ เป็นต้น กฎหมายกำหนดสิทธิ อำนาจของประชาชนคนไทยไว้ ถ้าไม่รักษาสิทธิ์ไว้ ไม่รู้จักใช้ จักกลายเป็นเหยื่อบริสุทธิ์ของผู้มีอำนาจที่ไม่ดีในสังคมได้ ความรู้มีอยู่รอบกาย สุดแต่ผู้ใดจักไขว่คว้าเก็บมาเป็นเกราะป้องกันภัยส่วนตัว สิ่งของอาจถูกฉกชิงไปจากตัวได้ แต่ความรู้เป็นสมบัติล้ำค่าส่วนตัวที่ไม่มีผู้ใดแย่งไปจากท่านได้*********************************
ค่าชดเชยในคดีอาญา
เขียนโดย ลีลา LAWท่านคงเคยสงสัยว่า เมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้น เช่น ข่มขืน ฆ่าคนตาย ทิ้งเด็กไว้ในถังขยะ ทอดทิ้งคนชราในประการที่อาจเกิดอันตรายแก่ชีวิต เป็นต้น ถ้าจับผู้กระทำผิดได้ จักถูกลงโทษตามหลักกฎหมายนั้นๆ แล้วผู้เสียหายหรือทายาทของเขาจะไม่ได้รับการทดแทนใดๆเหมือนในคดีแพ่งบ้างหรือ เพื่อความยุติธรรมและเมตตาจิตของรัฐ จึงออกกฎหมายเพื่อชดเชยความสูญเสียของผู้เสียหายหรือจำเลยในคดีอาญาที่อาจถูกใส่ร้ายในคดี ต่อมาศาลได้พิพากษาให้พ้นผิด แต่เขาได้สูญเสียหรือเสียหายจากกระบวนการยุติธรรมของรัฐไปแล้ว ดังเช่น การจับและฟ้องผู้ต้องหาผิดคนในดคีฆ่าเชอรี่แอน ดังแคน ซึ่งทำลายครอบครัวจำเลยไปหลายคน บางคนก็ตายไประหว่างการจำขัง เป็นต้นพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 มีผลใช้ในทางปฏิบัติได้ประมาณต้นปี 2545 นี้ ซึ่งรัฐจักช่วยชดเชยความเสียหายแก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมของรัฐ ไม่รวมถึงกรณีที่เอกชนฟ้องคดีกันเองบุคคลที่มีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าทดแทนได้ คือ 1. ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจ เนื่องจากการกระทำผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น2. จำเลย หมายถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลว่าได้กระทำผิดอาญา และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ด้วย คือ 1. ถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการ2. ถูกคุมขังในระหว่างพิจารณาคดี3. ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้กระทำผิดและมีการถอนฟ้องในระหว่างดำเนินคดี หรือ ปรากฏตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานความผิดที่ทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย คือ 1. ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 ถึง มาตรา 287 เช่น ข่มขืนหญิงหรือเด็ก ทำอนาจารเด็ก ล่อลวงในทางเพศ เป็นต้น2.ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 ถึง มาตรา 294 เช่น การฆ่าผู้อื่น ประมาททำให้คนอื่นตาย เป็นต้น3. ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 ถึง มาตรา 300 เช่น ทำร้ายร่างกาย ชุลมุนต่อสู้แล้วมีคนบาดเจ็บ ประมาทในการทำร้ายแล้วเกิดบาดเจ็บ เป็นต้น4. ความผิดฐานทำให้แท้งลูก มาตรา 301 ถึง มาตรา 305 เช่น การทำแท้งด้วยตนเอง หรือ ยอมให้ผู้อื่นทำแท้ง ทำแท้งโดยหญิงไม่ยินยอม หรือ ผิดเงื่อนไขของกฎหมาย เป็นต้น5. ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือ คนชรา มาตรา 306 ถึง มาตรา 308 เช่น ทิ้งเด็กทารกในถังขยะไม่ว่าเด็กจะตายหรือไม่ เป็นต้นลักษณะเงินชดเชยที่รัฐจ่ายให้ แยกเป็นกรณีเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา สิ่งที่ได้รับคือ1. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ2. ค่าตอบแทนกรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตายเป็นจำนวนตามที่กฎกระทรวงกำหนด3. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ4. ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นๆตามที่กำหนดเห็นควรจำนวนค่าตอบแทนนั้น ต้องพิจารณาโดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำผิด และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมถึงโอกาสที่จะได้รับการบรรเทาโดยทางอื่นด้วยกรณีเป็นจำเลยในคดีอาญา จักได้รับ1. ค่าทดแทนการถูกคุมขัง2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล3. ค่าทดแทนกรณีจำเลยถึงแก่ความตาย และ ความตายเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างถูกดำเนินคดี5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินคดีจำนวนค่าทดแทนจักได้รับเพียงใดหรือไม่ ต้องคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งคดี ความเดือดร้อนที่จำเลยได้รับและโอกาสที่จำเลยจะได้รับการชดเชยความเสียหายทางอื่นด้วยระยะเวลาในการยื่นคำขอ คือ ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำผิด หรือ วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเพราะปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ วันที่มีคำพิพาษาอันถึงที่สุดในคดีนั้นว่า ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิด หรือ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดผู้มีหน้าที่รับคำร้องและพิจารณาเรื่อง คือ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนฯ ของสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมการยื่นอุทธรณ์ เมื่อไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย โดยอาจยื่นต่อสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินฯ หรือ ศาลจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเพื่อส่งให้แก่ศาลอุทธรณ์ก็ได้ข้อเตือนใจในการใช้สิทธิเรียกร้องนี้1. การยื่นคำขอรับค่าตอบแทนตามกฎหมายนี้ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ2. การให้ถ้อยคำหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ ต่อคณะกรรมการฯหรือพนักงานสอบปากคำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ3. การไม่ยอมให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันควร มีโทษจำคุก 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับดังนั้น เมื่อได้รับความเดือดร้อนจากกระบวนการยุติธรรมและเป็นคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ อาจใช้สิทธิต่างๆซึ่งรัฐมอบให้ เพื่อหวังบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหายจากคดีได้ แต่มิใช่เพื่อให้คุ้มค่ากับสิ่งที่สูญเสียไป เพราะหลายอย่างที่เสียหายก็มิอาจตีราคาเป็นเงินได้รู้สิทธิ ใช้สิทธิ บรรเทาได้ผู้ถูกจับควรรู้
เขียนโดย ลีลา LAWกฎหมายมีการปรับปรุงเนื้อหาให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไทยซึ่งมุ่งเน้นกำหนดสิทธิและคุ้มครองคนบริสุทธิ์มาเป็นระยะเพื่อให้โอกาสพิสูจน์ข้อกล่าวหาความผิดอย่างยุติธรรมที่สุด ดังนั้น คนไทยจึงควรรับทราบและใช้สิทธิดังกล่าวที่กฎหมายมอบไว้อย่างเต็มที่ หลายท่านอาจสงสัยว่า เมื่อถูกกล่าวหาและตำรวจจับตามที่ผู้ร้องทุกข์แจ้งความไว้ พวกเขาจะได้ความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างไร หรือผู้ถูกกล่าวหาจะถือเป็นนักโทษจับขังคุกได้เลย ปัจจุบันนี้กฎหมายกำหนดสิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกจับไว้ชัดและตำรวจมิอาจทำละเมิดได้สิทธิเบื้องต้นของผู้ถูกจับประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 บัญญัติว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพน้กงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย1. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว2. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน3. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร4. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งจากหลักกฎหมายข้างต้นแม้จะกำหนดการแจ้งสิทธิผู้ถูกจับให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ ผู้ถูกจับอาจเรียกร้องเองก็ได้ สิทธิดังกล่าวมีจุดประสงค์ป้องกันการข่มขู่ บังคับ ซ้อมทำร้ายเพื่อให้ผู้ถูกจับให้การตามความต้องการของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่มีจิตทุจริตสิทธิการจับผู้ต้องหาประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 57 วรรค 1 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในมาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 มาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือ ค้นในที่รโหฐาน หาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้นกฎหมายกำหนดให้การจับ ขัง หรือจำคุก ต้องมีหมายของศาลเพื่อทำการนั้น โดยต้องปรากฏหลักฐานตามสมควรให้ศาลเชื่อว่ามีเหตุควรออกหมายจับด้วย จึงเป็นการช่วยกลั่นกรองและป้องกันการทำงานพลั้งพลาดหรือการใส่ร้ายคนบริสุทธิ์อันเกิดจากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ส่วนผู้ที่ร้องขอหมายจับได้ กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองระดับสามขึ้นไปหรือตำรวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่าขึ้นไปด้วยเหตุออกหมายจับประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 บัญญัติว่า เหตุที่จะออกหมายจับได้ มีดังต่อไปนี้1. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ2. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนีนอกเหนือจากการใช้หมายจับตามปกติแล้ว ตำรวจยังมีอำนาจในการจับผู้ร้ายที่กระทำผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องรอหมายจับ เพื่อป้องกันผู้บริสุทธิ์และสร้างความสงบให้บ้านเมือง เช่น การชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักลอบขนยาเสพย์ติด ค้าประเวณี เป็นต้น มาตราข้างต้นได้กำหนดลักษณะพฤติกรรมการหลบหนีของผู้ต้องหาซึ่งศาลอาจออกหมายจับให้ชัดเจนและทำได้รวดเร็วขึ้นสิทธิการให้ถ้อยคำของผู้ถูกจับกฎหมายกำหนดว่า ถ้อยคำใดๆที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับก่อน นั่นคือ นับแต่นี้ไปเมื่อตำรวจจับผู้ต้องหา จะต้องแจ้งข้อกล่าวหาและบอกสิทธิของเขาให้รับทราบว่า เขามีสิทธิให้การหรือไม่ให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิจะพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความนอกจากนั้นกฎหมายยังบัญญัติคุ้มครองการป้องกันตัวของเจ้าหน้าที่ผู้จับซึ่งกระทำได้ตามความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับ หากบุคคลซึ่งจะถูกจับ ขัดขวาง หรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี อีกทั้งกำหนดยืนยันว่าหน้าที่พิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหา อยู่ที่ฝ่ายโจทก์ มิใช่การอาศัยคำรับสารภาพของผู้ต้องหาเพียงอย่างเดียวหลักกฎหมายใหม่ออกมารับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญไทยเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา และส่งเสริมให้คนไทยมีสิทธิพบนักกฎหมายซึ่งมีความรู้ทัดเทียมกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองเพื่อคอยดูแลให้ได้รับความยุติธรรมอย่างเหมาะสม สุดท้ายคือ ศาลซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมจะเป็นผู้กลั่นกรองการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อลดทอนอิสรภาพของคนไทยอย่างรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง สิ่งสำคัญที่เราควรจดจำ คือ ควรร้องขอใช้สิทธิซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดไว้ โดยไม่จำต้องอดทนหรือยอมถูกกดขี่จากผู้มีอำนาจ เนื่องจากตอนนี้กฎหมายได้เขียนสิทธิของคนไทยในเรื่องข้างต้นไว้อย่างชัดเจน ไม่ต้องตีความใดๆอีก และชาวบ้านธรรมดาหรือเจ้าหน้าที่บ้านเมืองต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน หากทุกคนรู้จักใช้สิทธิตามกฎหมาย จักเป็นการช่วยป้องกันการใช้อำนาจมิชอบของเจ้าหน้าที่บางคนได้และเป็นการเตือนล่วงหน้าว่า ท่านจักร้องเรียนหรือฟ้องคดีต่อไป หากมีการทำละเมิดสิทธิของท่าน ทำให้เขาจำต้องหยุดยั้งพฤติกรรมไม่ดีที่คิดทำไว้ด้วยเกรงมีผลต่ออาชีพหรืออนาคตในหน้าที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหาก่อนเข้าสู่การดำเนินคดีในศาลพระปล่อยเงินกู้ได้ไหม ?
เขียนโดย ลีลา LAWสถานะของแต่ละบุคคลมีส่วนกำหนดบทบาทของเขาในสังคมได้ แต่กฎหมายให้ความรับรองทุกคนมีสิทธิตามกำหนดไว้เท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงว่า เขาจักมีฐานะหรือบทบาทเช่นไร ขอเพียงมีองค์ประกอบครบตามกำหนดในกฎหมาย เขาจะได้รับความยุติธรรมเสมอกัน หลายท่านอาจเคยเห็น เคยได้ยิน หรือประสบด้วยตนเองว่า มีพระภิกษุให้เงินกู้ยืมแก่ผู้ขัดสนเงินทองด้วยการคิดดอกเบี้ยด้วย นอกเหนือจากหน้าที่เผยแพร่พุทธศาสนาแก่ชาวบ้านแล้ว คำถามที่ตามมาคือ พระภิกษุสามารถเป็นเจ้าหนี้ปล่อยกู้เยี่ยงเดียวกับบุคคลทั่วไปได้หรือไม่ เหมาะสมกับความเป็นภิกษุผู้น่าศรัทธาเพียงใดมีกรณีศึกษาที่เกิดคำถามข้องใจข้างต้น แล้วแสวงหาคำตอบให้ชัดเจนได้โดยผ่านกระบวนการทางศาล ดังนี้คือ วันหนึ่ง นายบอน เกิดภาวะขัดสนทางการเงินอย่างหนัก และด้วยความที่มีศรัทธาต่อวัดใกล้บ้านสม่ำเสมอ จึงนำเรื่องไปปรึกษากับ ภิกษุกว้าง ซึ่งคุ้นเคยกันมานาน และมีคำปลอบใจให้ต่อสู้ชีวิตอย่างเข้มแข็ง พร้อมทั้งเสนอจะให้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง โดยคิดดอกเบี้ยไม่แพงในฐานะคนรู้จักกัน เวลานั้นเขาซาบซึ้งน้ำใจและทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวทันที จึงทำให้คลี่คลายปัญหาด้านการเงินได้อย่างสบายใจ เวลาผ่านไปหลายเดือน เขาขาดส่งดอกเบี้ยบ่อยครั้งมาก ภิกษุกว้างจึงทวงถามขอให้จ่ายคืนเงินกู้ทั้งหมด เขาจึงอ้างว่าพระภิกษุไม่มีสิทธิปล่อยเงินกู้แล้วคิดดอกเบี้ย การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน การให้กู้เงินแก่นายบอนเป็นโมฆะ และไม่ต้องชดใช้หนี้ใดๆ ในที่สุดภิกษุกว้างได้ฟ้องคดีต่อศาลซึ่งได้ตอบคำถามข้องใจตามที่นายบอนอ้าง ดังคำพิพากษาฎีกาที่ 3773/2538 ซึ่งศาลได้พิจารณาคำฟ้องและคำให้การของคู่กรณีทั้งสองแล้ว เห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดห้ามพระภิกษุนำเงินส่วนตัวของตนออกให้บุคคลอื่นกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย พระภิกษะเป็นบุคคล ย่อมมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด พระภิกษุย่อมมีสิทธิเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยคืนได้ ด้วยคำพิพากษาดังนี้ทำให้นายบอนจำต้องชดใช้หนี้เงินแก่ภิกษุกว้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้ในที่สุด มิอาจบิดพลิ้วเล่นลิ้นหมายจะเบี้ยวหนี้ได้อีกต่อไปบุคคลตามกฎหมาย ย่อมได้รับการคุ้มครองเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด สำหรับผู้เป็นพระภิกษุซึ่งมีสถานะทางสังคมที่สูง และ ความรู้สึกของประชาชนต่างให้ความศรัทธา ย่อมต้องมีสติพิจารณามากกว่าคนทั่วไปว่า สมควรกระทำสิ่งนั้นหรือไม่ แม้กฎหมายจะยอมให้ทำได้ก็ตาม การกระทำของภิกษุแต่ละรูป ย่อมสร้างเสริม หรือ ทำลาย ภาพพจน์และสถานะน่าศรัทธาในสังคมโดยรวมซึ่งอาจกระทบถึงพระภิกษุทั้งหมดได้ ถ้าประชาชนหมดศรัทธา พุทธศาสนาย่อมอ่อนแอ วินัยสงฆ์เป็นกฎเข้มแข็งในการดูแลพระภิกษุให้ประพฤติในสิ่งที่ดี ที่ชอบ กอปรกับจิตสำนึกของความเป็นพระภิกษุที่ดีของพุทธศาสนา ย่อมทำให้ตระหนักแก่ใจได้ว่า สมควรปล่อยเงินกู้ คิดดอกเบี้ยในขณะที่ครองจีวรเป็นพระภิกษุหรือไม่เจ้าของกับคดีบุกรุก
เขียนโดย ลีลา LAWหลายท่านซึ่งมีบ้านหรือที่ดินไว้ให้เช่าอาจเคยประสบปัญหาผู้เช่าไม่ยอมจ่ายค่าเช่าและยังคงอยู่ต่อไปอย่างท้าทาย หรือ ทำละเมิดสัญญาเช่าข้ออื่นอันเป็นเหตุให้เจ้าของจำต้องให้ออกจากสถานที่เช่า แต่ผู้เช่ามีทีท่าดื้อดึงไม่ยอมออกง่ายๆ บางท่านถึงขั้นเข้าไปขนย้ายข้าวของซึ่งเป็นของผู้เช่าออกไปจากบ้าน ทำให้ถูกแจ้งความดำเนินคดีบุกรุกกับตำรวจ เจ้าของบ้านกลับกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีบุกรุกไปในท้ายที่สุดก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับความผิดอาญาฐานบุกรุกซึ่งบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ว่า ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับกรณีตัวอย่างในที่นี้ คือ การเช่าบ้าน เมื่อมีการทำละเมิดสัญญาเช่า เช่น ค้างค่าเช่า ก่อความเสียหายแก่บ้านเช่าเกินเหตุ เป็นต้น หากผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ผู้เช่าออกไป แต่เขายังดื้อดึงอยู่อาศัยต่อไป ทำให้ผู้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของบ้านเดือดดาลใจจนกระทั่งบุกเข้าไปรื้อย้ายสิ่งของที่เป็นของผู้เช่าในบ้านพิพาท ขอให้พึงเข้าใจด้วยว่า การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการเข้าไปกระทำการใดๆเพื่อรบกวนการครอบครองบ้านพิพาทของผู้เช่าโดยปกติสุข อันเป็นการกระทำผิดฐานบุกรุกทันที แม้ว่าท่านจะเป็นเจ้าของบ้านก็ตาม เพราะการขับไล่ออกจากบ้านเช่าหลังจากเลิกสัญญาเช่าอันเป็นกรณีทางแพ่งต้องกระทำตามขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้น นอกเหนือจากผู้เช่ายอมปฏิบัติตามเองแล้ว เจ้าของบ้านต้องฟ้องคดีขับไล่โดยอาศัยสัญญาเช่าเป็นหลักซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าจะได้บ้านคืนมา ทำให้ผู้เช่าอาศัยบ้านเช่าต่อไปจนกว่าคดีจะสิ้นสุดซึ่งอาจสร้างความอึดอัดใจแก่เจ้าของหรือผู้ให้เช่าอย่างมาก กฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้สุจริต จึงมีหนทางบรรเทาความเสียหายไว้เช่นกัน ดังนั้น ศาลมีคำพิพากษาฎีกาสำหรับกรณีดังกล่าว คือ คำพิพากษาฎีกาที่ 3025/2541 ข้อตกลงล่วงหน้าระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าที่ว่า หากผู้เช่าทำผิดสัญญาข้อใด จักยินยอมให้ผู้ให้เช่าเข้าครอบครองห้องเช่าได้ทันที ใช้บังคับกันได้ ดังนั้น ผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจใช้สิทธิเข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่ให้เช่าได้โดยชอบตามที่ตกลงกันไว้กรณีศึกษาข้างต้นนี้ คงเป็นวิธีการหนึ่งในการปกป้องสิทธิของผู้ให้เช่าในการดูแลทรัพย์สินของตัวเองได้ดีกว่าการใช้กำลังแก้ปัญหา ซึ่งอาจทำให้ท่านต้องถูกดำเนินคดีบุกรุกบ้านของตัวเอง ดังนั้น ในการทำสัญญาเช่าทุกครั้ง ผู้ให้เช่าพึงกำหนดสิทธิดังกล่าวไว้ในสัญญาเช่าเพื่อป้องกันการถูกฟ้องคดีบุกรุกให้ต้องเจ็บใจภายหลัง และพึงระลึกด้วยว่า กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเสมอ ทุกวิธีซึ่งใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งกันต้องอยู่ภายใต้อำนาจของกฎหมาย สังคมจึงสงบสุขได้เข้าง่าย ออกยาก
เขียนโดย "ลีลา LAW"“คนมีน้ำใจ มักสร้างศัตรูได้ง่าย” เป็นประโยคที่มีความนัยสำคัญ เนื่องเพราะหลายท่านอาจเคยประสบกับตัวเองมาแล้ว เช่น ให้เพื่อนอาศัยในบ้านหรือที่ดินด้วยความสงสาร ต่อมาเกิดความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ จึงขอร้องให้เขาออกไป ทั้งสองต้องโกรธกันเพราะเพื่อนรู้สึกสบายแล้ว ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า จึงไม่ยอมออกจากบ้านหรือที่ดินนั้น ทำให้บาดหมางกันจนกลายเป็นศัตรูไปเลย เป็นต้น บางท่านต้องปวดหัวกับการที่เพื่อนสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีกด้วยการฟ้องเรียกค่าเสียหายในการต้องย้ายออกจากบ้านของท่าน ทำให้เจ็บใจยิ่งนัก และคงอยากทราบว่านอกจากเสียน้ำใจแล้ว ยังต้องจ่ายเงินให้เพื่อนทรพีคนนั้นอีกไหม มันเป็นคำถามชวนคิดมากสังคมไทยคนมีน้ำใจแบบนี้ต้องพบปัญหาเช่นนี้บ่อยครั้ง หลายท่านต่อสู้เรียกร้องความยุติธรรมจากศาล จนกระทั่งได้รับคำตอบ ดังกรณีศึกษาของ คำพิพากษาฎีกาที่ 1170/2543 คือ นายรวย มีที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งยังมิได้ใช้ประโยชน์อย่างใดในขณะนั้น ด้วยความมีน้ำใจและเป็นเพื่อนกัน จึงยอมให้ นายจน ซึ่งมีอาชีพปลูกต้นไม้ แต่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเองเข้าใช้ที่ดินของเขาในการเพาะชำต้นไม้ โดยไม่เรียกค่าตอบแทน และไม่มีกำหนดเวลาด้วย เพียงตกลงด้วยวาจากันว่า หากนายรวยต้องการใช้ที่ดินเมื่อใด ขอให้แจ้งนายจนทราบล่วงหน้าพอสมควร เวลาล่วงเลยได้ปีเศษนายรวยได้แจ้งขอให้ส่งคืนที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์และให้เพื่อนออกภายใน 2 วัน นายจนไม่พอใจและไม่ยอมออกจากที่ดินโดยดี หนึ่งเดือนหลังจากได้รับแจ้งให้ออกจากที่ดินนั้น เพื่อนคนนี้จึงยอมย้ายออกโดยนายรวยมิได้มีการเร่งรัดด้วยวิธีใดระหว่างหนึ่งเดือนนั้นเลย แต่เขาต้องขุ่นเคืองใจหนัก เมื่อนายจนฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากการต้องย้ายออกจากที่ดินของนายรวย ด้วยอ้างว่า เขาถูกกลั่นแกล้งให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ศาลพิจารณาจากข้อเท็จจริงของทั้งสองฝ่าย จึงตัดสินคดีว่า นายรวยยอมให้นายจนเข้าใช้ที่ดินเป็นการชั่วคราวในลักษณะสิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งโดยไม่มีกำหนดเวลา ไม่มีค่าตอบแทนอย่างใด เมื่อมีการบอกกล่าวไม่อนุญาตให้ใช้ที่ดินอีกต่อไป โดยให้เวลาย้ายเพียง 2 วัน อันเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้นไป แต่ข้อเท็จจริง คือ ตลอดเวลา 1 เดือนก่อนการย้ายออกจริงของนายจนนั้น มิได้มีการบีบคั้นด้วยวิธีใดจากนายรวยเลย นั่นถือว่าเจ้าของที่ดินได้ให้เวลาล่วงหน้าพอสมควรเพื่อการย้ายออกแล้ว ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยทุจริต ไม่เป็นการผิดสัญญาหรือละเมิดต่อนายจนเลย เมื่อมิได้มีการกลั่นแกล้งให้ย้ายออก แม้มีความเสียหายเกิดแก่นายจนบ้าง นายรวยก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดจ่ายค่าเสียหายตามที่เรียกร้องมาในคดีนี้เลยจากกรณีศึกษาข้างต้น แม้คนมีน้ำใจจะถูกรังแกเพียงใด ความยุติธรรมยังมีอยู่ ศาลจึงลงโทษเพื่อนทรพีมิให้ได้เงินค่าเสียหายเนื่องจากจิตใจไม่สุจริตของนายจน ดังคำที่ว่า ภายใต้กฎหมาย ผู้มาศาลด้วยความสุจริตใจ ย่อมได้รับความยุติธรรมเสมอ หวังว่าผู้มีน้ำใจมิควรท้อแท้ในการทำความดีต่อคนรอบข้าง “น้ำใจ” มีคุณค่าเกินจะประเมินเป็นตัวเงินได้ และในปัจจุบันยังต้องการคนมีน้ำใจเพื่อค้ำจุนสังคมไทยให้มั่นคงอีกจำนวนมากตกงานโดยไม่ได้เงินชดเชย
การทำงาน เป็นสิ่งที่มนุษย์พึงต้องทำ เพื่อหาเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ ยิ่งเพิ่มความสำคัญมากขึ้น ทุกคนมักระมัดระวังตนมิให้ต้องถูกเลิกจ้าง แต่บางคนต้องตกงานเนื่องจากได้ร่วมประท้วงและนัดหยุดงานเพื่อข้อเรียกร้องต่างๆของเขา เหตุใดเขาจึงสูญเสียหน้าที่การงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใดๆเหมือนเช่นการออกจากงานของลูกจ้างอื่นๆ คำตอบคือ บางกรณีการนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องจากนายจ้างได้กระทำผิดขั้นตอนของกฎหมาย จึงต้องสูญเสียงานไปอย่างน่าเสียดายยิ่งกรณีศึกษาซึ่งเป็นบทเรียนอันหนึ่งใช้เตือนใจแก่ลูกจ้างที่คิดจะนัดหยุดงาน แล้วอาจตกงานได้โดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ได้มีการฟ้องคดีแรงงานระหว่างคนงาน 60 คนกับนายจ้างเจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค ซึ่งได้บอกเลิกจ้างพวกเขาโดยไม่จ่ายเงินชดเชยเลย จนกระทั่งมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1589-1650/2543 มีรายละเอียดดังนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า คนงาน 60 คน นัดหยุดงานเพื่อประท้วงและบังคับนายจ้างให้ยอมรับเงื่อนไขของตนในวันที่ 6 ตุลาคม 2540 เวลา 8 นาฬิกาเศษ โดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งตามมาตรา 34 วรรคท้าย ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ จากการสืบพยานได้ความจริงว่า มีการยื่นหนังสือแจ้งนัดหยุดงานต่อนายสอง พนักงานรักษาความปลอดภัยของนายจ้างในวันที่ 5 ตุลาคม 2540 เวลา 7 นาฬิกาเศษ ซึ่งยังไม่ถือว่า แจ้งล่วงหน้าครบตามเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การนัดหยุดงานของคนงาน 60 คน จึงถือเป็นการละทิ้งการงานซึ่งตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติและย่อมก่อความเสียหายแก่นายจ้างได้ เพื่อความยุติธรรมของทั้งสองฝ่ายกฎหมายจึงได้บัญญัติว่า ลูกจ้างจะนัดหยุดงานได้ ต่อเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ มิใช่กระทำตามใจตนเองได้ เมื่อลูกจ้างนัดหยุดงานโดยมิได้แจ้งเป็นหนังสือให้นายจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้งตามมาตรา 34 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ การนัดหยุดงานดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือเป็นการละทิ้งหน้าที่อยู่ในตัวเมื่อคนงาน 60 คน นัดหยุดงานโดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน จึงถือว่า เป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้เมื่อนายจ้างบอกเลิกการจ้าง ซึ่งระบุอยู่ในมาตรา 119 (5) ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สรุปได้ว่า คดีนี้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างคนงาน 60 คน โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วย พวกเขาจึงตกงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆด้วยเหตุผลดังกล่าวกรณีศึกษาข้างต้นทำให้เห็นได้ว่า ก่อนจะนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องสิ่งใดจากนายจ้าง ขอให้ศึกษาขั้นตอนของกฎหมายให้แน่ใจ แล้วกระทำไปทุกขั้นตอน และให้ความสำคัญต่อระยะเวลา โดยเฉพาะเศษวินาทีก็ต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เมื่อคิดจะเรียกร้องสิ่งใด ควรเริ่มจากการเสนอให้นายจ้างทราบก่อน มิใช่การข่มขู่ แล้วทำการเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ หากเจรจาไม่สำเร็จ ถือว่า ได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ซึ่งเขาจักเรียกทั้งสองฝ่ายมาเจรจาอีกครั้งภายใน 5 วัน นับแต่วันที่เขาได้รับหนังสือแจ้ง เมื่อไม่อาจตกลงกันได้ จักถือว่า เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ปิดงานหรือนัดหยุดงานได้ ภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่สำคัญมาก คือ ก่อนการนัดหยุดงาน ต้องแจ้งเวลานัดหยุดงานเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและนายจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่รับแจ้ง ถ้าทำผิดคลาดเคลื่อนเรื่องเวลา แม้แต่วินาทีเดียว ท่านอาจถูกไล่ออกจากงานโดยกฎหมายรับรองว่า นายจ้างสามารถทำได้ สิ่งที่บอกเล่ามาเป็นขั้นตอนโดยสังเขปซึ่งพึงระวังไว้ หากมีความคิดจะประท้วงนายจ้าง กฎหมายมิได้ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเท่านั้น นายจ้างก็ได้รับความยุติธรรมด้วยเช่นกัน ดังนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่า กฎหมายคุ้มครองและให้ความยุติธรรมได้ ต่อเมื่อท่านปฏิบัติตามทุกขั้นตอนอย่างสมบูรณ์แล้วเท่านั้นครอบครองปรปักษ์
เขียนโดย "ลีลา LAW"บางท่านอาจเคยได้ยินหรือได้พบกับปัญหาแปลกนี้ก็ได้ นั่นคือ ทรัพย์สิน อาทิเช่น ตึก ที่ดิน หรือ เครื่องเพชร เป็นต้น เราเป็นคนซื้อ หรือ มีชื่อเป็นเจ้าของในโฉนด แต่วันหนึ่งกลับกลายเป็นของผู้ที่เราเคยฝากให้ดูแลทรัพย์สิน ทั้งที่ผู้นั้นมิใช่คนซื้อ กรณีเช่นนี้มีทางเป็นไปได้ เมื่อเจ้าของขาดการเอาใจใส่ต่อทรัพย์สินของตัวเอง ทำให้ผู้ครอบครองแทนคิดเข้าข้างตัวเองว่า เขาควรเป็นเจ้าของต่างหาก กอปรกับพึงพอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับจากทรัพย์สินนั้นมานานปี จึงอาศัยหลักเกณฑ์ของกฎหมายสร้างโอกาสแย่งชิงจากเจ้าของแท้จริงซึ่งก่อเกิดความเคียดแค้นชิงชังต่อกันตามมาเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นจึงขอนำกรณีศึกษามาเสนอให้ได้ขบคิดและพึงระวังตนไว้ ดังนี้คือ นายดี ทำมาหากินจนกระทั่งมีฐานะดี จึงซื้อที่ดินและตึกแถวไว้มากมายอยู่ในหลายจังหวัด เนื่องจากเขาอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด และด้วยความเห็นใจเพื่อนซึ่งยากจน คือ นายกาก จึงให้อาศัยในตึกแถวย่านสุขุมวิทและช่วยดูแลผู้เช่าตึกแทนเขาด้วย ต่อมาเขาเกิดเสียชีวิตกะทันหัน ทายาทของนายดีจึงเริ่มตรวจสอบทรัพย์สินของเขา แต่นายกาก ไม่ยอมให้ทายาทของนายดีเข้าไปในตึกแถวของบิดา โดยอ้างว่าเขาได้กรรมสิทธิ์ในตึกนี้โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว จึงมิใช่มรดกของนายดี หลังจากต่อสู้กันในศาลเป็นเวลานาน ผลการตัดสินคดีสร้างความตกใจและขุ่นเคืองแก่ทายาทของนายดีอย่างมาก เมื่อตึกแถวที่นายดีซื้อมาต้องเปลี่ยนเจ้าของไปเป็นของนายกาก เพื่อนทรยศของบิดา เนื่องจากตลอดเวลาสิบกว่าปีนายกากได้แสดงตนเป็นเจ้าของตึกต่อบุคคลภายนอกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเก็บค่าเช่า กำหนดค่าเช่ารายปี ดูแลตึก คัดเลือกผู้เช่าและทำสัญญาเช่าโดยอ้างตนว่าเป็นเจ้าของ เป็นต้น ส่วนนายดีไม่เคยมาที่ตึกหลังนี้เลยหลังจากที่มอบหมายให้นายกากดูแลแล้ว อีกทั้งไม่มีการแสดงคัดค้านอย่างใดต่อการกระทำของนายกากซึ่งแสดงตนเปิดเผยโดยเจตนาว่าเป็นเจ้าของตึกอันมีมูลค่ามหาศาลนี้เลยจนกระทั่งเวลาล่วงเลยไปกว่า 20 ปี แม้แต่ทายาทก็มิได้รับรู้เรื่องตึกหลังนี้เลยเพราะนายดีเป็นผู้เก็บโฉนดไว้เพียงคนเดียวเท่านั้น จึงมีผลให้นายกากได้กรรมสิทธิ์ในตึกหลังนี้โดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยผลของกฎหมาย ทายาทของนายดีต้องสูญเสียทรัพย์สินชิ้นนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนหนึ่งก็มาจากความไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างทั่วถึงของนายดีนั่นเอง ด้านนายกากกลับมีโชคลาภที่ได้ตึกแถวราคาสูงเป็นของเขา ทั้งที่มิเคยต้องจ่ายเงินซื้อหามาเลย จึงกลายเป็นเศรษฐีชั่วพริบตาหลายท่านอาจคิดว่า กฎหมายไม่ให้ความยุติธรรมแก่ทายาทของนายดีเลย แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว จักเห็นว่า ถ้านายดีมิได้ละเลยต่อการตรวจสอบ ดูแล ทรัพย์สินทั้งหมดของเขา ย่อมไม่เปิดโอกาสให้นายกากสามารถช่วงชิงตึกแถวหลังนี้ไปได้แน่นอน มันจึงเป็นเสมือนการลงโทษแก่ผู้ที่ตั้งตนอยู่ในความประมาท กรณีศึกษานี้ทำให้เราพึงสังวรไว้ว่า ไม่ควรวางใจใครเกินไป ควรรอบคอบและระวังตนอยู่เสมอ รู้จักคุณค่าของเวลา เราจักไม่สูญเสียสิ่งใดไปให้ต้องเจ็บใจภายหลัง ข้อควรพึงเตือนใจไว้สำหรับกรณีนี้คือ ที่ดินหรือตึกแถวถูกครอบครองเกิน 10 ปี และ เครื่องเพชรหรือรถยนต์หรือทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ถูกครอบครองเกิน 5 ปี มันอาจต้องเปลี่ยนเจ้าของไป ถ้าผู้ครอบครองได้ครองทรัพย์สินเหล่านั้นโดยความสงบ โดยเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เงื่อนเวลาเหล่านี้จึงมีความสำคัญยิ่ง ดังนั้น ท่านน่าจะลองหันไปสำรวจทรัพย์สินในมืออย่างละเอียดสักครั้ง เพื่อตรวจดูว่า ท่านยังเป็นเจ้าของอยู่หรือไม่ยืมแล้วยึดสังคมเป็นที่รวมกันของมนุษย์มากหลาย สิ่งหนึ่งที่มนุษย์พึงมีให้ต่อกัน คือ ความมีน้ำใจ ซึ่งจักทำให้สังคมอยู่สงบสุข มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แต่หลายคราผู้มีน้ำใจมักถูกเอาเปรียบจากคนที่เห็นแก่ตัว จึงเกิดความขัดแย้งต่อกันจนต้องพึ่งพาอำนาจศาลเพื่อความยุติธรรมกรณีศึกษาเกี่ยวกับผลตอบแทนของผู้มีใจดีจักเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่ผู้ที่เห็นแก่ตัวได้ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 1184/2543 นายตะกอน ยืมเครื่องมือก่อสร้างไปจาก นายเพิ่ม โดยมีบันทึกการยืมลงวันที่ 22 มิ.ย. วันที่ 3 และ 19 ก.ค. พ.ศ.2532 ระบุด้วยว่า จะนำมาส่งคืนเมื่อแล้วเสร็จหรือทวงถาม หลังจากวันยืมไปแล้ว นายเพิ่มมิได้พบนายตะกอนอีกเลย มาพบอีกครั้งในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 นายเพิ่มทวงถามถึงเครื่องมือก่อสร้างที่ยืมไป แต่ได้รับการปฏิเสธการคืน จึงถือได้ว่า นายเพิ่มทราบแน่ว่า นายตะกอนครอบครองทรัพย์ของเขา แล้วมีเจตนาเบียดบังเอาเครื่องมือก่อสร้างของเขาไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 วันดังกล่าวจึงเป็นวันที่นายเพิ่มรู้เรื่องความผิดฐานยักยอกทรัพย์และรู้ตัวผู้กระทำผิดในคดีนี้ อายุความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน จึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น เมื่อนายเพิ่มแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายตะกอนในวันที่ 15 ธันวาคม 2537 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความตามที่นายตะกอนกล่าวอ้างอย่างใดตัวอย่างคดีนี้ชี้ให้เห็นข้อต่อสู้ของผู้ยืมซึ่งเน้นไปที่ระยะเวลาที่เจ้าของหมดสิทธิ์ฟ้องคดียักยอกทรัพย์ มิใช่ปฏิเสธว่าเขาไม่ได้กระทำผิดคดีดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ระยะเวลามีความสำคัญต่อการฟ้องคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง ยังมีผลต่อการแพ้ชนะคดีทั้งของโจทก์และจำเลยในศาลด้วย ดังนั้นข้อเตือนใจที่ได้จากคดีข้างต้นคือ ความผิดอันยอมความได้ในคดีอาญา เช่น ยักยอก ฉ้อโกง หมิ่นประมาท บุกรุก เป็นต้น ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นจักถือเป็นการขาดอายุความ ไม่อาจดำนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้เลย อายุความที่เริ่มต้นและสิ้นสุด จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น