(ข้อสอบล้มละลาย)
เกร็ดความรู้ กฎหมายล้มละลาย เอามาจากข้อสอบอัยการผู้ช่วย 2548
สวัสดีครับ พอดีผมนั่งอ่านข้อสอบอัยการผู้ช่วย พ.ศ.2548 อยู่ พอดีเจอโจทย์ข้อนึงไม่ยากหรอกครับ แต่พอเป็นองค์ความรู้ได้บ้างจึงเก็บมาฝากครับ เป็นเรื่องของ อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครับ ไปดูกันเลยครับคำถาม นายแสงได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญาที่ บริษัท มุ่งหมาย จำกัด มีต่อธนาคารทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) จำนวน 500,000 บาท ปรากฏว่าบริษัทมุ่งหมายจำกัดไม่มีเงินชำระหนี้ให้กับธนาคารทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) และ นายแสงได้ถึงแก่ความตาย ธนาคารทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) จึงได้ฟ้อง บริษัท มุ่งหมาย จำกัด และนายแสงในฐานะผู้ค้ำประกันโดยนายขันซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายแสงในฐานะทายาทโดยธรรมต่อศาลแพ่ง ขอให้พิพากษาให้บริษัท มุ่งหมาย จำกัด และนายแสงโดยนายขันในฐานะทายาทโดยธรรมร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) ระหว่างดำเนินคดีดังกล่าวนายสาได้ฟ้องนายขันให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายขันแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์จึงได้ยื่นคำร้องเข้าดำเนินคดีนี้แทนนายขันต่อศาลแพ่งดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลจะสั่งคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อย่างไร เพราะเหตุใดธงคำตอบ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและการเข้าดำเนินคดีแทนลูกหนี้ที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 นั้น จำกัดเฉพาะการเข้าดำเนินคดีแทนในคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น หากเป็นทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือมิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ก็ไม่มีอำนาจเข้าดำเนินการแทนลูกหนี้ได้ การที่นายขันถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งนั้น เป็นกรณีที่ ธนาคาร ทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) ฟ้องนายขันเป็นจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของนายแสง ซึ่งถึงแก่ความตายแล้วให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่นายแสงทำไว้กับ ธนาคาร ทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) โจทย์ เพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาของ บริษัท มุ่งหมาย จำกัด มิใช่ฟ้องนายขันในฐานะส่วนตัว ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาด นายขัน ย่อมเป็นการพิทักษ์ทรัพย์เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของนายขันเท่านั้น เพราะตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ จำกัดเฉพาะห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใดๆ เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน ไม่ได้หมายรวมถึงการจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือทำกิจการแทนผู้อื่นด้วย ดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการทรัพย์สินในกองมรดกของนายแสง หรือเข้ามาต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของนายแสงแทนนายขัน ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1) , (3) และ มาตรา 24 ได้ นายขันจึงยังมีสิทธิในการต่อสู้คดี ที่ ธนาคาร ทรัพย์เจริญ จำกัด (มหาชน) ฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินในกองมรดกของนายแสงในฐานะทายาทโดยธรรมได้ดังนั้น ศาลแพ่งจึงต้องสั่งยกคำร้องขอเข้าดำเนินคดีแทนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์







ข้อสอบเก่า







ฎีกาเด่น (คำบรรยาย เนติบัณฑิต) อ. ประเสริฐ ต่อจากกระทู้http://www.stou.ac.th/Thai/Schools/Slw/Webboard/Question.asp?GID=12189 ที่คุณ กังหันลม IP : 203.148.205.9 ขอไว้ฎีกาที่ ๘๑๓/๒๕๔๗ โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ได้ข้อนี้ถ้าออกสอบจริง ๆ ก็ตอบไปตามธงเขียนดีอย่างไร อาจารย์ก็ให้เต็มยากมาก อย่างดีที่สุดก็ได้ 8-9แต่ถ้าหากใครให้เหตุผล และความเห็นที่นอกเหนือความคาดหมายของอาจารย์ผู้ตรวจอาจได้คะแนนเต็ม หรือล้น (คืออาจารย์อยากจะให้ 11 แต่มันเต็มแค่ 10 )คือคนที่ตอบเพิ่มว่าคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก็เป็นเจ้าของที่ดิน จำเลยโต้แย้งว่าที่ดินเป็นของจำเลย โดยจำเลยมีเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์มาตั้งแต่ยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว มิใช่เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เปลี่ยนเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เพราะจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ แต่อย่างไรศาลจังหวัดจึงน่าจะสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ตั้งแต่ชั้นตรวจฟ้อง

ข้อสอบเก่า

สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 บัญญัติว่า"สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้(1) โดยความตายของผู้กระทำผิด(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความกัน โดยถูกต้องตามกฎหมาย(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37(4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง(5) เมื่อมีกฎหมายออกใช้ภายหลังการกระทำผิด ยกเลิกความผิดเช่นนั้น(6) เมื่อคดี






ขาดอายุความ"
กรณีที่จำเลยถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย จะทำให้คดีอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ระงับไปด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาได้มี คำวินิจฉัยเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184-185/2542 ว่า
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาได้ คือ คดีอาญาเลิกกันตาม ป.วิ.อ. ม.37 กรณีหนึ่ง คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 กรณีหนึ่ง และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. ม.39 อีกกรณี หนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และโจทก์คดีนี้ได้ยื่นคำร้อง ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ก็เป็นกรณีที่โจทก์ไปดำเนินการใช้สิทธิเรียกร้อง ทางแพ่งในคดีล้มละลาย บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ม.25 ไม่เกี่ยวกับกรณี คดีอาญาเลิกกันหรือสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปแต่อย่างใด จำเลยจะขอให้ ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่*(บุคคลล้มละลายมิใช้บุคคลหย่อนความสามารถ)*หมายเหตุ






ล่าสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

ค้นหาโดย google