ว่าด้วยเรื่อง ตำรวจ มี สิทธิ ยึด ใบ ขับขี่ หรื่อ เปล่า

สนับสนุนบล็อก


e-bizonline.blogspot.com


comupdate.blogspot.com


idpeasy.blogspot.com


คลิกโฆษณาภายใน บล็อกได้เลยคับ




หลายคนอาจ เคย เจอ เหตุการ ที่ ตำ รวจ ขอดูใบ ขับขี่ แล้ว ยึด ใบขับขี่ไว้ หลายคนอาจ สงสัย ว่า ตำรวจ มีอำนาจ กระทำได้ หรื่อ เปล่า ชึ่งวันนี้ ผม มี บทความเกี่ยว กับเรื่องดังกล่าวมาให้อ่าน และ ศึกษา กันนะคับ


ปกติเมื่อทำผิดกฎจราจร ตำรวจจราจรมักยึดใบขับขี่แล้วให้ไปจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจ แต่ก็มีความเห็นว่า ตำรวจไม่มีอำนาจยึด เพราะใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน การยึดใบขับขี่จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากต่อไปตำรวจยึดใบขับขี่ก็ให้แจ้งความกลับว่า ตำรวจลักทรัพย์ เมื่อแรกเห็นความเห็นนี้ ก็น่าสนใจอย่างยิ่งว่า เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จึงเป็นมูลเหตุให้ดำเนินการค้นคว้าว่า ตำรวจมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่

ใบขับขี่เป็นทรัพย์สิน ปกติคนอื่นเอาทรัพย์สินเราไปโดยไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดในฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๔ ได้ ซึ่งวางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป ย่อมมีความผิดฐานลักทรัพย์ โดยการเอาไปในที่นี้ต้องเป็นการเอาไปโดยไม่มีสิทธิหรือไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ดังนั้น หากผู้เอาไปซึ่งทรัพย์สินมีสิทธิหรืออำนจตามกฎหมาย ผู้เอาไปยอมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ลูกหนี้ที่แพ้คดีแพ่งในศาล และไม่ยอมชำระเงินตามคำพิพากษา ต่อมาศาลออกคำสั่งยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด แม้ลูกหนี้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดทรัพย์ได้ เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ก็จะไปแจ้งความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีลักทรัพย์ก็ไม่ได้

แต่น่าคิดที่ว่า ตำรวจจราจรมีอำนาจในการยึดใบขับขี่หรือไม่ ซึ่งพิจารณาเป็นลำดับได้ดังนี้

ประการแรก ในระบบกฎหมายไทย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ย่อมเป็นผู้ที่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ในการจำหน่าย จ่าย โอน ทร้พย์สิน รวมถึงทำลายทรัพย์สินนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ บัญญัติไว้ว่า

มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
ประการที่สอง อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่ว่านี้ หากมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายนั้น ๆ เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ นั้น ขึ้นต้นด้วยถ้อยคำว่า "ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายทรัพย์สิน ...." ซึ่งหมายความว่า หากมีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กฎหมายนั้น ๆ ย่อมริดรอนสิทธิหรืออำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้

ตัวอย่างเช่น หากเราเป็นเจ้าของที่มีกรรมสิทธิ์ในดินสอหนึ่งแท่ง วันหนึ่งเราอาจหักดินสอ เช่นนี้ เราก็สามารถทำได้ เพราะเราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ อีกทั้งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น แต่ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของต้นไม้สักทองที่เราปลูกขึ้นมาเองกับมือบนที่ดินที่เราเป็นเจ้าของ เมื่อเราต้องการตัดต้นไม้สักทองที่เราปลูก ตามปกติด้วยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์เราย่อมมีสิทธิตัดได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เพราะเราเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ แต่ในกรณีนี้หาทำได้โดยพลการไม่ เพราะมีกฎหมายเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๗ ประกอบมาตรา ๖ และมาตรา ๔ กำหนดไว้ว่า ไม่ว่าไม้สักทองจะขึ้นในที่ดินของบุคคลใด เวลาจะตัดจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หากไม่แจ้งย่อมมีความผิด

ตัวอย่างที่ยกมานี้ เพื่อแสดงว่า กรรมสิทธิ์ของเราที่มีอยู่ อาจมีกฎหมายกำหนดให้คนอื่นมีสิทธิในกรรมสิทธิ์นั้นได้หรือเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์นั้นได้ ทั้งนี้ ต้องอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย

ประการที่สาม ตำรวจจราจรจะมีอำนาจยึดใบขับขี่หรือไม่ จากที่กล่าวมาทั้ง ๒ ประการข้างต้น จะเห็นว่า ใบขับขี่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา คนอื่นจะมายึดมายุ่งโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายไม่ได้

ดังนั้น หากตำรวจจะยึดใบขับขี่ในกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรได้ ก็ต้องค้นหาว่าตำรวจอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติใดแห่งกฎหมายที่จะยึดใบขับขี่ ทั้งนี้เพราะหลักกฎหมายทั่วไปมีว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจกระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไม่ได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจที่กฎหมายบัญญัติไว้” ซึ่งหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ตำรวจก็จะยึดใบขับขี่ไม่ได้ หากยึดไปโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจก็อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้

อย่างไรก็ดี เมื่อค้นคว้าตัวบทกฎหมายก็พบว่า พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ บัญญัติไว้ว่า
“มาตรา ๑๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้นๆ จะว่ากล่าว ตักเตือนผู้ขับขี่ หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติดหรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย
สำหรับความผิดที่กำหนดไว้ในมาตรา ๑๕๗/๑ มาตรา ๑๕๙ มาตรา ๑๖๐ มาตรา ๑๖๐ ทวิ และมาตรา ๑๖๐ ตรี ห้ามมิให้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบ

ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้ แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง
ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ที่ออกให้ตามวรรคสามให้ใช้แทนใบอนุญาตขับขี่ได้เป็นการชั่วคราวไม่เกินเจ็ดวัน เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้ว่ากล่าวตักเตือนหรือทำการเปรียบเทียบปรับและผู้ขับขี่ได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้คืนใบอนุญาตขับขี่ทันที

ในกรณีเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบสั่งแต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำผิดดังกล่าว เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่
การกำหนดจำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด
ใบสั่งและใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ ให้ทำตามแบบที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนด”

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จากบทบัญญัติของมาตรา ๑๔๐ นี้ ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานซึ่งหมายถึง ตำรวจจราจรที่จะยึดใบอนุญาตขับขี่ได้เมื่อมีการฝ่าฝืนกฎจราจร จึงทำให้แม้ผู้เป็นเจ้าของใบขับขี่มีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๓๖ แต่ตำรวจจราจรก็มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะที่จะยึดใบขับขี่ได้ เช่นนี้แล้วเมื่อตำรวจจราจรมีอำนาจตามกฎหมายในการยึดใบขี่ การที่ตำรวจจราจรเอาใบขับขี่ของเราไป เราก็จะไปแจ้งความว่าตำรวจมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะการเอาไปของตำรวจเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินโดยมีอำนาจตามกฎหมาย

ปล. ประเด็นปัญหาด้านอำนาจของตำรวจจราจรที่น่าสนใจในเรื่องใกล้เคียงกับเรื่องการยึดใบขับขี่ คือ กรณีตำรวจยึดกุญแจรถของผู้ขับรถผิดกฎจราจร โดยประเด็นปัญหามีว่า ตำรวจมีอำนาจยึดกุญแจรถหรือไม่
เพราะเท่าที่สำรวจตรวจตรากฎหมายดู ยังไม่เห็นว่ามีกฎหมายใดให้อำนาจตำรวจในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้น หากตำรวจยึดกุญแจรถเราไป เราต้องถามตำรวจโดยถ้อยคำว่า “ตำรวจครับ/คะ ไม่ทราบว่าอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรื่องใด มาตราใด ในการยึดกุญแจครับ/คะ” หากตำรวจตอบไม่ได้ ก็มีแน้วโน้มว่าเราจะแจ้งความว่าตำรวจลักทรัพย์ และอาจเพิ่มข้อหาให้ตำรวจได้อีกว่า เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้




ที่มาของข้อมูล อ้างอิง




ผู้เขียน: manitjumpa




วิชาการ.คอม





กฏหมายเพื่อประชาชน กฎหมาย กฎหมายชาวบ้าน กฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายระหว่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

ค้นหาโดย google