หลักอาญา 1

ฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน, หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมา
หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กยอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน,

หลักอาญา
,หลักกฎหมายอาญา

หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน,หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน,

ความ หมายกฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและได้กำหนดโทษซึ่งจะลงแก่ความผิด นั้นได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน กฎหมายอาญา มีความมุ่งหมายในอันที่จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข กฎหมายอาญา มีประเภทต่าง ๆ หลายประเภท ประมวลกฎหมายอาญาพระราชบัญญัติต่าง ๆ ที่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีกำหนดโทษไว้ ล้วนเป็นกฎหมายอาญาทั้งสิ้น เช่นพระราชบัญญัิติยาเสพย์ติดให้โทษ พระราชบัญญัติความผิดเกิดจากการใช้เช็ค พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดเป็นต้น ขอบเขตในการใช้กฎหมายอาญา


1. เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ กฎหมายอาญามีผลใช้บังคับต่อเมื่อขณะที่กระทำผิดนั้น มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและมีกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย หากการกระทำของบุคคลใดในขณะที่กระทำนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและไม่ได้กำหนดโทษไว้ ผู้กระทำนั้นไม่ต้องรับโทษทางอาญา

2. สถานที่ที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ กฎหมายอาญาใช้บังคับได้เฉพาะในราชอาณาจักรไทย การกระทำผิดนอกราชอาณาจักรไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญาของไทยแต่การกระทำผิด ในเรือไทย หรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร3. บุคคลที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ บุคคลทุกคนไม่ว่าสัญชาติใด หากมากระทำิผิดในราชอาณาจักรไทย หรือถือว่าการกระทำนั้น เป็นการกระทำผิดในราชอาณาจักรไทยใช้กฎหมายอาญาของไทยลงโทษผู้กระทำผิดนั้น ได้


สาระสำคัญของความผิดทางอาญาความผิดทางอาญา หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ โดยปกติการกระทำความผิดอาญาจะต้องเป็นการกระทำภายในราชอาณาจักร ยกเว้นบางกรณี เช่นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การปลอมแปลงเงินตราและการทำความผิดในเรือไทย หรืออากาศยานไทย ให้ถือว่าเป็นความผิดที่กระทำภายในราชอาณาจักรด้วย

การกระทำ แบ่ง เป็น กระทำโดยเจตนา และกระทำโดยประมาทกระทำโดยเจตนา หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกและขณะเดียวกันก็ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลกระทำโดย รู้สำนึก คือ ขณะที่กระทำนั้นรู้ว่าตนทำอะไรกระทำโดยประสงค์ต่อผล คือ ทำไปโดยต้องการให้เกิดผลเช่น แล้วเกิดผลเช่นนั้น ตามที่ตนต้องการกระทำโดยย่อมเล็งเห็นผล คือ ผู้กระทำไม่ต้องการให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น แต่รู้อยู่ว่าเมื่อทำเช่นนั้นแล้วต้องเกิดผลเช่นนั้นขึ้นอย่างแน่นอน

กระทำ โดยประมาท หมายถึง การกระทำโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในฐานะเช่นนั้นสามารถใช้ความระมัดระวังได้แต่ไม่ใช้ให้เพียงพอ ละเว้นการกระทำ คือ กฎหมายบังคับให้ทำแล้วไม่ทำ ถือว่าละเว้นการกระทำ โดยมีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิด


ผู้ร่วมกระทำผิดอาญาการกระทำผิด อาญานั้น ผู้ใดทำผิดผู้นั้นต้องรับโทษ แต่หากมีบุคคลอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกระทำผิดผู้นั้นก็ต้องร่วมรับโทษ ด้วย

1. ตัวการ คือ คนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมมือร่วมใจกันกระทำผิด ร่วมมือ คือ ร่วมกระทำที่แสดงออกมาภายนอก ร่วมใจ คือ มีเจตนาร่วมกระทำผิด เป็นการกระทำที่อยู่ภายใน สามารถทราบได้ทางพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ส่อแสดงให้เห็นว่า ผู้กระทำมีเจตนาเช่นนั้น เช่น นาย ก กับ นาย ข ได้ตกลงกันที่จะทำร้ายร่างกายนายดำ แล้วนายก กับนาย ข ได้ร่วมกันชกต่อยเตะทำร้ายร่างกายนายดำ กรณีเช่นนี้ ทั้งนาย ก และนาย ข มีเจตนาร่วมทำผิดด้วยกัน เรียกว่าร่วมใจ
ตัวการนั้น ผู้กระทำผิดต้องร่วมมือและร่วมใจ หากขาดไปประการใดประการหนึ่งไม่ถือเป็นตัวการ

2. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด ผู้ใช้ให้กระทำความผิด หมายถึง บุคคลที่คิดและตกลงใจจะกระทำความผิดอย่างหนึ่งแต่ไม่ได้กระทำกลับใช้คนอื่น โดย การจ้างการวาน การยุยงส่งเสริม การบังคับ การขู่เข็ญ ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อื่นทำแทน

3. ผู้สนับสนุน ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่กระทำการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด เช่น นายดำต้องการยิงนายแดง นายขาวให้นายดำยืมปืนไปเพื่อไปยิงนายแดง นายขาวเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด

4. ผู้โฆษณา คือผู้ที่กระทำการชี้นำชักชวน จนผู้อื่นคล้อยตาม และกระทำความผิดตามคำโฆษณานั้น

การพยายามกระทำความ ผิด พยายามกระทำความผิด คือ ผู้ที่ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่เป็นผลสำเร็จตามความต้องการของผู้กระทำผู้กระทำความผิด ต้องรับโทษ สองในสามของความผิดสำเร็จ


การกระทำที่ไม่เป็นความผิดเรียกกัน ว่า การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย คือผู้ที่จำต้องกระทำการเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นจาก ภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุผู้กระทำไม่มีความผิด ชาวบ้านเรียกกันว่า "การป้องกันพอสมควรแ่ก่เหตุ"

เช่นนายดำยกปืนยิงนายแดง นายแดงจึงใช้ปืนยิงนายดำ จนถึงแก่ความตาย ถือว่าแดงป้องกันพอสมควรแก่เหตุการกระทำผิดซึ่งได้รับยกเว้นโทษ


- เด็ก เด็กไม่เกิน7 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็น ความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ- กระทำด้วยความจำเป็น คือ ผู้ที่ต้องกระทำผิดด้วยวความ จำเป็นเพราะถูกบังคับ หรือด้วยความจำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย ซึ่งภยันตรายนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ และได้กระทำไปไม่เกินสมควรแก่เหตุ


เช่น นายเอกไปช่วยงานแต่งงาน ถูกนักเลงหลายคนวิ่ง ไล่ทำร้าย นายเอกวิ่งหลบเข้าไปในห้องที่พวกเจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่ นายดำมายืนกั้นไม่ให้นายเอกเข้าไปในห้อง นายเอกจึงชกนายดำกระเด็นไป แล้ววิ่งเข้าไปหลบในห้อง ผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่กระทำด้วยความจำเป็น จึงไม่ต้องรับโทษ


- การกระทำตามคำสั่งโดยชอบของเจ้าพนักงานเช่นสิบตำรวจเอกดำไล่จับนายเหลือง สิบตำรวจเอกดำสั่ง ให้นายขาวช่วยจับนายเหลืองได้ ต่อมาปรากฎว่านายเหลืองไม่ใช่คนร้าย ไม่เคยกระทำความผิด การที่นายขาวจับนายเหลืองนั้น นายขาวมีความผิดฐานทำให้นายเหลืองเสื่อมเสียเสรีภาพ แต่นายขาวได้ปฏิบัติตน ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและนายขาวเชื่อโดยสุจริตว่าสิบตำรวจเอกดำได้สั่งโดย ชอบด้วยกฎหมาย นายขาวจึง ไม่ต้องรับโทษ


การกระทำผิดซึ่งมีเหตุลดหย่อนโทษ เช่น

- กรณีที่เป็นญาติ เช่นเป็นบุพการีกับผู้สืบสันดาน ตัวอย่าง บิดาทำต่อบุตร หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาทำผิดต่อกัน "พี่สาวลักทรัพย์ของน้องชาย กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ลง น้อยลง และถึงแม้จะเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ก็สามารถยอมความเลิกแล้วต่อกัน ได้"


-การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ คือผู้ที่กระทำความผิด เนื่องจากถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทำต่อผู้ข่ม เหงในขณะนั้น

เช่น นายดำกลับมาบ้าน เห็นนายเขียวมาเป็นชู้กับภรรยาตน และนายเขียววิ่งหนีออกจากบ้านไป นายดำวิ่งไล่ตาม ใช้มีดแทงนายเขียวจนตาย


-เด็กกระทำิผิด 14-17 ศาลว่ากล่าวตักเตือน กำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ หรือจะพิพากษาลงโทษ และให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นลงกึ่งหนึ่ง17- 20 กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ศาลจะลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสาม


-การบรรเทาโทษการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำ ผิดไปนั้น ย่อมจะมีสาเหตุ และพฤติการณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งผู้กระทำผิดนั้นเองก็มิได้มีเหมือนกันทั้งร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมก็ แตกต่างกัน การกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้นจึงไม่อาจกำหนดตายตัวแน่นอนได้ กฎหมายจึงให้พิจารณา ข้อลดหย่อนโทษต่าง ๆ ให้แก่ผู้กระทำผิด กล่าวคือ สามารถลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ผู้ตกอยู่ใน ความทุกข์อย่างสาหัส ผู้มีคุณความดีมาก่อน ผู้รู้สำนึกและพยายามบรรเทาผลร้ายของการกระทำผิด ให้ความรู้แก่ศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นต้น


แนวคิด 1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบ เรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน


2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็น โทษแก่ผู้กระทำความผิด


3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน


4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด


5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด


กฎหมายอาญา

คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ นั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้
ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ



1. ความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการ กระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น2 ลักษณะ คือ


1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้


กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำ ร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อ แผ่นดิน


กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิด อาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิด ต่อแผ่นดิน


1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น


กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้


กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความ กันได้


หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน,หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายหลัก,อาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน, อาญา,หลักกฏหมายอาญา,หลักสำคัญกฎหมายอาญา,อาญาแผ่นดิน,หลักอาญา 1,หลักอาญา,กฏหมายอาญา,กฎหมายอาญา,หลักกฏหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

ค้นหาโดย google