บ่อเกิดกฏหมาย

นิยามของกฎหมาย 


เราสามารถพิจารณากฎหมายแยกออกได้เป็น สองประการคือ การพิจารณากฎหมายในแง่เนื้อหาหรือเนื้อความ และการพิจารณากฎหมายในแง่วิธีการบัญญัติ 




กฎหมายในแง่เนื้อความหรือเนื้อหา
ในแง่เนื้อความ อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายเป็นกฎทีสถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน
การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ กฎหมายในแง่เนื้อหามีองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้มีสภาพแตกต่างจากศีลธรรมก็คือ กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ที่มีสภาพบังคับให้ต้องกระทำตามกฎหมาย 





กฎหมายในแง่วิธีการบัญญัติ
กฎหมายที่จะถูกยอมรับเป็นกฎหมายเมื่อพิจารณาจากวิธีนี้ก็คือ ก็คือกฎหมายซึ่งได้ถูกบัญญัติไว้ตามขั้นตอนที่กำหนดเพื่อให้มีสภาพเป็นกฎหมาย จะเห็นได้ว่าหากพิจารณากฎหมายแต่ในแง่เนื้อความ กฎหมายเช่นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีก็อาจจะไม่ใช่กฎหมาย เราจึงต้องแบ่งการพิจารณากฎหมายออกเป็นสองประการ 






การแบ่งระบบกฎหมาย
กฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายทั่วไป (common law) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน 






ระบบกฎหมายทั่วไป
เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น   




ผู้สนับสนุน





ระบบประมวลกฎหมาย 



เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรปและในประเทศไทย โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกำหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และ
กฎหมายจารีตประเพณี

  1. หน้าที่ของกฎหมาย
    กฎหมายมีหน้าที่หลัก 5 ประการด้วยกัน
    1สร้างและรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และความมั่นคงของสังคม เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษผู้กระทำผิดและทำให้คนกลัวไม่กล้าทำผิด หรือพระราชบัญญัติปราบปรามยาเสพติด ได้กำหนดวิธีการเข้าตรวจค้นผู้ต้องสงสัยได้ง่าย เพื่อให้การกระทำผิดเกิดขึ้นได้ยาก
    2ระงับข้อพิพาท เช่น กฎหมายที่ถูกนำมาพิจารณาในชั้นศาลเพื่อให้คดีความเป็นอันยุติ
    3เป็นวิศวกรสังคม กฎหมายทำหน้าที่วางแนวทางและแก้ไขปัญหาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่นกฎหมายผังเมือง กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
    4จัดสรรทรัพยากรและสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายด้านภาษีอากร กฎหมายจัดสรรงบประมาณ กฎหมายการปรับดอกเบี้ย
    5จัดตั้งและกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งและการทำงานของรัฐสภา ศาล และคณะรัฐมนตรี 



ปรัชญากฎหมายพื้นฐาน
กฎหมายเป็นเรื่องที่ต้องอยู่คู่กับเหตุผล เสมือนเป็นวัตถุและเงา หากไม่มีเหตุผล คนย่อมไม่อยากปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความยุติธรรม แต่หาใช่ความยุติธรรมไม่
กฎหมายมิใช่เป็นเพียงเรื่องปัจจุบัน แต่เป็นเรื่องกำหนดอนาคต จึงมิสมควรปล่อยให้กฎหมายล้าหลังหรือมีช่องโหว่ ดังคำกล่าวที่ว่าอย่าปล่อยคนตายเขียนกฎหมายให้คนเป็น
กฎหมายต้องดำเนินไปพร้อมกับการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ

การแบ่งประเภทและลักษณะของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมายนั้น การแบ่งสามารถอาศัยเกณฑ์ที่ต่างกัน อาทิ
เกณฑ์ลักษณะ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
เกณฑ์เขตอำนาจ แบ่งได้เป็น กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
เกณฑ์เนื้อหาเฉพาะด้าน แบ่งได้เป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี กฎหมายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  



ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาโดยพื้นฐานของกฎหมายแล้ว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 



กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive law) หรือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้ามหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมโดยตรงเช่น กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง ที่กล่าวถึงลักษณะความผิด และโทษที่จะได้รับ นอกจากนี้ยังกำหนด ควบคุม ให้ความหมาย และวางหลักการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น กฎหมายที่แบ่งและกำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน 


กฎหมายสบัญญัติ หรือ กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) คือกฎหมายที่บัญญัติกระบวนการตลอดจนวิธีการนำเอาเนื้อหาสาระของกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น เช่นบัญญัติว่าในแต่ละกระบวนการนั้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร มีเรื่องเวลา สถานที่และบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสบัญญัติที่เด่นชัดคือ   

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 


กฎหมายทั้งสองประเภทมักจะนำมาใช้ควบคู่กันตลอด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นสมบูรณ์ เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้กระทำผิดก็พิจารณาการกำหนดโทษตามกฎหมายสารบัญญัติ จากนั้นก็พิจารณาตามกฎหมายสบัญญัติ ในส่วนของวิธีการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาและพิพากษาคดี หรือการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลโดยมีการขอให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิ จนไปถึงขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การยื่นฎีกาหรือการบังคับคดีเมื่อคดีถึงที่สุด ตัวอย่างของกฎหมายสบัญญัติอื่นๆที่สำคัญได้แก่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีการพิจารณาคดีอากร พระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
กฎหมายมีลำดับศักดิ์สูงต่ำเสมือนสายบัญชาการ โดยกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าย่อมเสมือนเป็นบ่อเกิดของอำนาจในกฎหมายลำดับรองลงมา และที่สำคัญ
กฎหมายที่ลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้ง จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
กฎหมายที่ลำดับศักดิ์เท่ากันสามารถขัดหรือแย้ง แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์เท่ากันได้ ทั้งนี้การขัดหรือแย้งกันของกฎหมายให้ถือเอากฎหมายฉบับล่าสุดมีผลบังคับใช้
กฎหมายที่ลำดับศักดิ์สูงกว่าสามารถยกเลิก แก้ไขเพิ่มเติม หรือขัดแย้งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าได้ โดยกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่ามีอันตกไป ถ้าขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า
ลำดับศักดิ์เรียงได้ดังนี้ 




เมื่อกล่าวถึงลำดับศักดิ์นั้น คำว่า "กฎหมาย" ในทางนิติศาสตร์ หรือบางแหล่งเรียก "กฎหมายอันแท้จริง" จะหมายถึงเฉพาะกฎหมายที่เกิดจากอำนาจสูงสุดของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย ซึ่งมักหมายถึงกฎหมายที่เกิดจากอำนาจนิติบัญญัติ อันได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญหรือรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ (รวมถึงประมวลกฎหมาย) อย่างไรก็ดีในระบบกฎหมายไทยมีพระราชกำหนดเป็นข้อยกเว้นที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออกแต่ถือเป็นกฎหมายอันแท้จริง เนื่องจากถือว่าเป็นการให้ฝ่ายบริหารยืมใช้อำนาจนิติบัญญัติในคราวจำเป็น อย่างไรก็ดีนักนิติศาสตร์ที่ยึด
ทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออร์ก็จะจัดพระราชกำหนดอยู่ในส่วนของกฎหมายบริหารบัญญัติที่กำลังจะกล่าวถัดไป
ส่วนกฎหมายลำดับถัดลงไปนั้น เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้อออกเป็นหลัก โดยอาศัยอำนาจกฎหมายอันแท้จริงในการออก เช่น พระราชกฤษฏีกา กฎกระทรวง และคำสั่งหรือข้อบังคับที่ออกตาม
กฎอัยการศึก ถือเป็นกฎหมายลำดับรอง (Subordinate Legislation) ที่เรียกว่า กฎหมายบริหารบัญญัติหรือบางแหล่งเรียกว่า กฎหมายอนุบัญญัติ หรือ กฎเกณฑ์แห่งกฎหมาย (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า By-law)
และส่วนสุดท้ายคือกฎหมายที่ออกโดย
องค์การมหาชนที่มีอำนาจอิสระ (autonomy) กล่าวคือ มีอำนาจปกครองตนเองในขอบเขตที่กฎหมายปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้ (องค์กรปกครองตนเองในปัจจุบันนี้ ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ซึ่งกฎหมายในส่วนนี้เรียกว่า กฎหมายองค์การบัญญัติ และยังมีข้อสังเกตอีกว่า องค์การมหาชนอิสระในรูปแบบอื่นบางประเภทก็มีอำนาจออกข้อบังคับที่เป็นกฎหมายได้ เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อันเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐมีอำนาจออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยโดยสภามหาวิทยาลัยได้
หลักทฤษฎีพื้นฐานของการใช้กฎหมาย 



กฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นกฎหมายทั่วไป 


กฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่ามิได้
กฎหมายเรื่องเดียวกัน หากมีซ้ำซ้อนกันและมิได้บัญญัติว่าให้ใช้ฉบับใด ให้ถือว่าต้องใช้ฉบับที่บัญญัติขึ้นภายหลัง
การตีความกฎหมายต้องถือตามเจตนารมณ์ของกฎหมายควบคู่กับตัวบทกฎหมาย และต้องตีความเพื่อให้กฎหมายบังคับใช้ไปได้ โดยไม่เกิดผลประหลาด (Golden rule) 


กฎหมายลักษณะต่างกันย่อมมีนิติวิธีหรือแนวทางและวิธีการในการใช้กฎหมายต่างกัน เช่นกฎหมายแพ่ง เรื่องสัญญาย่อมมุ่งที่ประโยชน์ของเอกชน กฎหมายมหาชน เรื่องสิ่งแวดล้อมย่อมมุ่งประโยชน์ของคนทั่วไปเป็นหลัก หรือในทางกฎหมายแพ่ง เมื่อไม่มีกฎหมายห้าม ย่อมกระทำได้ หากไม่ขัดต่อจารีตประเพณีและศีลธรรมอันดี แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายมหาชนนั้น ถือหลักว่า ถ้าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมทำไม่ได้ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ จะถือหลักว่า กระทำใดๆ เท่าที่กฎหมายไม่ห้ามมิได้ ต้องกระทำการเฉพาะตามขอเขตอำนาจของกฎหมายโดยเคร่งครัด เป็นต้น
กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ โดยเฉพาะกฎหมายอาญา (nullum crimen, nulla poena sine lege) 






สอบถามปัญหากฏหมาย  

jirasak.aek@gmail.com 



ไม่มีความคิดเห็น:

ค้นหาโดย google