ลิขสิทธิ



ภาพรวมของลิขสิทธิ์
เขียนโดย ลีลา LAWปัจจุบันนี้ทรัพย์สินในทางพาณิชย์มิใช่มีเพียงที่ดิน ทองคำ หรือ หุ้น เท่านั้น เรายังมีทรัพย์สินทางปัญญาอีกชนิดหนึ่ง อันได้แก่ ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า หรือ สิทธิบัตร ซึ่งมีมูลค่าในทางการค้าด้วย จึงมีการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองมันอย่างต่อเนื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่จะทำความรู้จักในครั้งนี้ คือ ลิขสิทธิ์ ซึ่งมีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 คุ้มครองผลประโยชน์แก่ผู้สร้างสรรค์งานและมีการพัฒนาให้ทันสมัยมาตลอด คำว่า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆตามกฎหมายฉบับนี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นสิ่งที่ได้รับการคุ้มครองกฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดงานที่ได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ วรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง สิทธินักแสดง งานแพร่เสียงแพร่ภาพการเริ่มต้นของสิทธิคุ้มครองผู้ใดสร้างสรรค์งานใหม่ โดยมิได้คัดลอก ดัดแปลง จากงานของผู้อื่น จักได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทันทีนับแต่สร้างงานนั้นขึ้นมา โดยไม่ต้องมีพิธีการใดๆเลยพฤติกรรมต้องห้ามเมื่องานสร้างสรรค์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว ผู้อื่นจึงไม่อาจกระทำสิ่งต่อไปนี้ คือ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของก่อน มิฉะนั้น ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีลูกจ้างสร้างงานหากมีการสร้างสรรค์งานขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้างและมิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้นกรณีเป็นการรับจ้างสร้างงาน ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นงานไม่มีลิขสิทธิ์ข้อยกเว้นสำหรับบางผลงานที่กฎหมายไม่คุ้มครองสิทธิเพราะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนร่วมกัน ได้แก่1. ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ2. รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 1 – 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้นการโอนลิขสิทธิ์เจ้าของงานสร้างสรรค์ย่อมโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมดหรือบางส่วนให้แก่บุคคลอื่นได้ นอกจากการตกทอดทางมรดก โดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาคุ้มครองการโอนไว้ในสัญญาโอน ถือว่าเป็นการโอนมีกำหนดเวลาเพียงสิบปีเท่านั้น ส่วนการอนุญาตให้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ กฎหมายมิได้กำหนดรูปแบบแน่ชัดไว้ จึงอาจเป็นการอนุญาตโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือหรือโดยปริยายทางวาจาก็ได้ระยะเวลาคุ้มครองกฎหมายให้ความคุ้มครองสิทธิเจ้าของผลงานตลอดชีวิตของเขา แล้วยังมีอยู่ต่อไปอีกห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตายด้วย หลังจากเวลาคุ้มครองสิ้นสุดลง การนำงานดังกล่าวออกทำการโฆษณา จักไม่ก่อให้เกิดลิขสิทธิ์ในงานนั้นขึ้นใหม่โทษของผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใดทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน สำหรับงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หากทำเพื่อการค้า จักมีโทษหนักขึ้น คือ โทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่จำหน่ายงานอันละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษจำคุกหรือโทษปรับหนักด้วยข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากฎหมายพยายามคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์และสิทธิของผู้สร้างสรรค์อย่างมาก ปัจจุบันนี้การสร้างสรรค์งานมีมูลค่าเป็นเงินทองได้ รัฐบาลจึงพยายามกระตุ้นให้คนไทยสร้างผลงานทางปัญญาให้เป็นสินค้า ดังนั้น สำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์แล้ว ผู้สร้างสรรค์งานควรลงทะเบียนงานของตนที่กรมลิขสิทธิ์ กระทรวงพาณิชย์ซึ่งรัฐเป็นตัวกลางเก็บผลงานและช่วยเผยแพร่งานกับความเป็นเจ้าของงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ วันหนึ่งลิขสิทธิ์อาจพลิกชีวิตของท่านได้ จงสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์และดูแลสิทธิมีมูลค่านี้ให้ดี มันถือเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโลกยุคใหม่ลิขสิทธิ์ของลูกจ้างเขียนโดย ลีลา LAWพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 กำหนดความหมายของ ลิขสิทธิ์ ว่า เป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น เช่น การเผยแพร่ต่อสาธารณชน การทำซ้ำ ดัดแปลง อนุญาตให้ใช้งาน โอนลิขสิทธิ์ เป็นต้น งานที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้มีหลายอย่าง อาทิเช่น วรรณกรรม ดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อท่านสร้างสรรค์งานเหล่านี้ขึ้นมาจักได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายทันที โดยไม่ต้องมีขั้นตอนระเบียบทางราชการใดๆมาเกี่ยวข้องอีก มันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติปัญหาที่พบในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างหนึ่ง คือ กรณีที่ลูกจ้างได้สร้างงานตามคำสั่งของนายจ้างหรือหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่เพื่อนำไปใช้ในสถานที่ทำงาน ต่อมาได้ลาออก จึงมักสงสัยว่า ใครคือผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างขึ้น ทำให้เกิดกรณีพิพาทกันบ่อยครั้งและได้มีคำตอบใน คำพิพากษาฎีกาที่ 9523/2544 ดังนี้ นายพิชิต เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานด้านสินเชื่อของ บริษัทเกียรติ ซึ่งเป็นนายจ้างของเขา จึงถือเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 8 ซึ่งกำหนดว่า “ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น......” แม้นายพิชิตจะสร้างงานชิ้นนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทเกียรติในฐานะลูกจ้าง แต่มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์กำหนดว่า “งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ลิขสิทธิ์ในงานนั้นเป็นของผู้สร้างสรรค์ แต่นายจ้างมีสิทธินำงานนั้นออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ตามที่เป็นวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานนั้น” ทำให้นายพิชิตเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ แต่บริษัทเกียรติได้รับอนุญาตโดยกฎหมายให้นำงานไปใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลาที่นายพิชิตยังเป็นลูกจ้างอยู่ ต่อมานายพิชิตได้ลาออกจากบริษัทและไม่ประสงค์จะอนุญาตให้นายจ้างใช้โปรแกรมดังกล่าวต่อไป เขาย่อมมีสิทธิทวงถามให้นายจ้างคืนโปรแกรมนั้นได้ เมื่อบริษัทเกียรติไม่ยอมคืนและยังใช้โปรแกรมดังกล่าวต่อไปอันมีลักษณะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของนายพิชิตโดยมิชอบ ย่อมทำให้ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าบริษัทเกียรติทำละเมิดต่อนายพิชิต จำต้องจ่ายค่าเสียหาย แม้คดีนี้นายพิชิตซึ่งเป็นโจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าได้รับความเสียหายอย่างใดและเป็นเงินเท่าใดก็ตาม ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ได้ โดยต้องจ่ายค่าเสียหายนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดให้คืนโปรแกรมตามที่โจทก์มีหนังสือแจ้งระงับการใช้ไปยังบริษัทซึ่งถือเป็นวันที่บริษัททำละเมิดและโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมาย มิใช่นับจากวันที่นายพิชิตลาออกกรณีศึกษาข้างต้นทำให้ลูกจ้างรับทราบสิทธิในงานสร้างสรรค์ของตนซึ่งทำเพื่อสถานประกอบการได้ชัดเจน ถ้านายจ้างต้องการให้งานสร้างสรรค์อันเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานสามารถนำไปใช้ได้ยาวนาน แม้ลูกจ้างคนนั้นจักลาออกไป ย่อมมีวิธีแก้ไขโดยการทำหนังสือข้อตกลงโอนลิขสิทธิ์ในงานชิ้นนั้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ชัดเจน ระยะเวลาในการใช้งานซึ่งลูกจ้างสร้างสรรค์ขึ้น นายจ้างย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์แห่งการจ้างแรงงานโดยอำนาจของกฎหมายเพียงเท่าที่ผู้สร้างสรรค์ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ แต่ผลของคดีจักแตกต่างไปหากคู่พิพาทเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งกฎหมายกำหนดให้งานที่สร้างสรรค์ตามคำสั่งหรือการจ้างหรือในความควบคุมของตน ถือเป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยงานรัฐ ดังนั้น นายจ้างและลูกจ้างต้องตระหนักและเคารพในสิทธิของแต่ละฝ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ด้วย จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้






ไม่มีความคิดเห็น:

ค้นหาโดย google