กฎหมายครอบครัว
ผลเกี่ยวกับค่าทดแทนถ้าศาลพิพากษาให้หย่ากัน เพราะชายไปอุปการะเลี้ยงดูยกย่อง หญิงอื่นเหมือนกับว่าหญิงอื่นนั้นเป็นภริยาของตน ภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีและ จากหญิงอื่นนั้นโดยต้องฟ้องหย่ากับสามีก่อนจึงจะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนดังกล่าวถ้าไม่ได้ฟ้อง หย่าก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนเฉพาะจากหญิงอื่นเท่านั้นโดยถือว่าหญิงอื่นนั้นได้แสดงตัวโดยเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์กับสามีของตนในทางชู้สาว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓) ถ้าศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะ ภริยามีชู้ สามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากภริยาและจากชายชู้โดยต้องฟ้องหย่ากับภริยาก่อนจึง จะมีสิทธิได้รับค่าทดแทนดังกล่าว ถ้าไม่ได้ฟ้องหย่าสามีก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนเฉพาะจาก ชายชู้ เท่านั้นโดยถือว่าชายชู้นั้น ได้ล่วงเกินภริยาของตนในทางชู้สาว (ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ๑๕๒๓) แต่อย่างไรก็ตาม การเรียกค่าทดแทนในกรณีที่สามีอุปการะเลี้ยงดู หรือ ยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา และในกรณีที่ภริยามีชู้นั้น ถ้าสามีหรือภริยาได้ยินยอมหรือรู้เห็น เป็น ใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการ ดังกล่าวได้แล้วสามีหรือภริยาไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน ดังกล่าว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓)
ตอบปัญหากฎหมายกรณีของผู้ถามปัญหา ต้องพิจารณาในเบื้องต้นก่อนว่า สามีภริยานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
หากไม่ได้เป็นสามีภริยาซึ่งได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย เป็นเพียงแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เช่นนี้ ก็คงขอตอบว่า ภริยาไม่มีสิทธิใดๆที่จะฟ้องภริยาน้อยได้เลย เพราะตนไม่ได้เป็นภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีกฎหมายรับรองสถานะหรือความสัมพันธ์ให้ทั้งคู่เป็นสามีภริยากัน ดังนั้น ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจึงไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากสามีหรือบุคคลที่มายุ่งหรือข้องเกี่ยวกับสามีตนได้
หากเป็นกรณีที่สามีภริยานั้นได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายและสมบูรณ์ตามกฎหมาย กรณีเช่นนี้ หากสามีไปอุปการะส่งเสีย ยกย่องเชิดชูหญิงอื่นฉันภริยาน้อย ขณะเดียวกันภริยาน้อยก็รู้อยู่แล้วว่า ได้ไปยุ่งเกี่ยวมีความสัมพันธ์กับผู้ชายซึ่งมีภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้
ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๒๓ วรรคสอง
และถือว่าเป็นเหตุให้ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายฟ้องหย่าได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๖ (๑) และเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุนี้แล้ว ภริยามีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีและจากหญิงอื่นซึ่งเป็นเมียน้อยนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๒๓ วรรคหนึ่ง
เมื่อสามีมีกิ๊ก ~เรือโทหญิง มธุศร เลิศพานิช
เหมือนว่าประเด็น “ เมื่อสามีมีกิ๊ก ” จะเป็นประเด็นยอดฮิตเสียเหลือเกิน ไม่ว่าจะไปที่ไหน ๆ กันมักจะมีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเล่าสู้กันฟัง ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย เกิดขึ้นได้ในทุก ๆ วงสังคม ทุกชนชั้น และดูเหมือนว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะในยุคนี้ ที่มีสถานะใหม่ทางสังคมที่ชื่อว่า “ กิ๊ก ” เกิดขึ้นมา แล้ว “ กิ๊ก ” นี้เป็นใครหนอ ... ไม่ยากค่ะท่านผู้อ่าน หาได้ตามแผงหนังสือทั่วไป ที่มีผู้รู้หลายท่านมาให้นิยามกัน รวมๆ แล้วประมาณได้ว่า “ กิ๊ก ” นี่ก็เป็นมากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่แฟน เรียกว่าเดินทางสายกลาง เดี๋ยวนี้แฟนคนที่สอง คนที่สาม เมียน้อย เมียมาก ก็ผันตัวเองมาใช้คำว่ากิ๊กกันหมด เพราะคำว่า “ กิ๊ก ” มันฟังดูคิกขุน่ารักกว่ากันเยอะ และคุณกิ๊กนี่เองก็มักจะสร้างปัญหาปวดหัวใจกับใครหลายๆ คน รวมถึงตัวผู้เขียนด้วย เดี๋ยวก่อน อย่างพึ่งตีความเช่นนั้นค่ะที่บอกว่ามีส่วนร่วมในการปวดหัวด้วยก็เนื่องมาจากว่า บ่อยครั้งที่ผู้เขียนเองมักจะต้องเปลี่ยนหน้าที่จากนายทหารพระธรรมนูญไปเป็นศิราณีจำเป็น ก็ใช้มาแล้วทั้งลูกปลอบ ลูกโยน ทั่งบู๊และบุ๋น เรียกว่าเอาความรู้ที่เรียนมาทั้งเรื่องกฎหมาย หลักรัฐศาสตร์ หลักจิตวิทยามาใช้หมด ดังนั้น เมื่อสบโอกาส ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานทหารเรือหญิงให้เขียนบทความ ก็เห็นว่าประเด็นยอดฮิตนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ผู้หญิงด้วยกัน
คำถามแรกที่ผู้เขียนมักจะต้องตอบเสมอเมื่อได้รับฟังปัญหาสามีหนู , สามีพี่มีกิ๊ก คือว่าเราใน , ฐานภรรยาจะทำยังไงดีคะ คำว่าภรรยาในที่นี้คือจะต้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อน คือต้องมีการ จดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียนแล้วเท่านั้น ซึ่งคนเรากว่าจะมีถึงจุดนี้ได้ก็คงต้องอาศัยความรักความเข้าใจกันนานพอดู แต่เมื่อแต่งงานอยู่กินกันไป อะไร ๆ มันไม่เหมือนเดิม หรือมีสมาชิกใหม่อายุน้อยกว่า สวยกว่า สดกว่า เข้ามาแชร์ความรักจากสามีไป ปัญหาครอบครัวก็เกิดขึ้น การแก้ปัญหาในครอบครัวนั้นต้องเริ่มจาการคุกันเองก่อน เมื่อตกลงกันไม่ได้ก็ต้องอาศัยคนอื่นช่วยไกล่เกลี่ย แม้แต่ในชั้นศาลเมื่อมีคดีครอบครัว ศาลก็มักจะใช้วิธีในการไกล่เกลี่ยก่อนเสมอ เพราะปัญหาที่ตามมาหลังจากการสมรสนั้นต้องจบลงมีเยอะแยะมากมาย ทั้งเรื่องบ้าน เรื่องรถ ทรัพย์ทั้งหลายที่ร่วมกันสร้างมา และที่สำคัญคือเรื่องลูก แต่อย่างไรก็ตามหากความพยายามในการไกล่เกลี่ยนั้นไม่สำเร็จวิธีการที่เหมาะสมที่สุดก็คือการหย่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น