กฏหมายครอบครัว และ ข้อกฏหมาย สำคัญ ในกฏหมายครอบครัว ที่ จำเป็นในชีวิตประจำวัน
วันนี้ พอ มี เวลาว่างก้อเลย มา อับเดต ข้อ มูลให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เข้ามาเยี่ยมชม เว็บนะคับ หวังว่า จะเป็นประโยชน์ไม่มาก ก้อ น้อย นะคับ วันนี้ผมนำ ความรู้ กฎหมาย ครอบครัว ที่สำคัญ และเป็น เหตุการณ์ ที่เกิด ขึ้น ใน ชีวิตประจำวัน มาให้อ่านกันนะคับ และ เพื่อนๆ น้องๆ คนไหน มีข้อสงสัย และ อยาก ทราบ ข้อมูลอะไรเพิ่ม เติม ก้อ สามารถติดต่อมาได้นะคับ jirasak.aek@gmail.com
ผู้สนับสนุน |
การหมั้น
“การหมั้น” หรือ “สัญญาหมั้น” หมายถึง สัญญาว่าจะสมรส
การ หมั้น หรือสัญญาหมั้นเป็นสัญญาที่สัญญาว่าจะสมรสในอนาคต แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะต้องมีการหมั้นก่อนที่จะทำการสมรสทุกกรณี อาจจะมีการสมรสโดยไม่มีการหมั้นเกิดขึ้นก่อนก็ได้ การหมั้นหรือสัญญาหมั้นนั้นแต่ต่างจากสัญญาอื่นๆประการที่ไม่สามารถบังคับ ให้มีการปฏิบัติตามสัญญาได้หรือบังคับให้สมรสกันได้(ม.1438)
เงื่อนไขการหมั้น
การ หมั้นจะมีผลสมบูรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาเงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ การหมั้นซึ่งไม่ผ่านเงื่อนไขในข้อหนึ่งข้อใดจะมีผลต่อความสมบูรณ์ของการ หมั้น
1. เงื่อนไขในเรื่องอายุ (ม. 1435)
การ หมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ การหมั้นที่ได้ทำขึ้นในขณะที่ชายหญิงคู่หมั้นมีอายุยังไม่ครบสิบเจ็ดปีบริ บูรณ์แม้ว่าบิดามารดาจะให้ความยินยอมให้ทำการหมั้น การหมั้นนั้นก็ยังมีผลเป็นโมฆะเสมือนหนึ่งว่าไม่มีการหมั้นเกิดขึ้นเลย ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายใดๆต่อกันได้ถ้าต่อมาไม่มี การสมรสเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิในการเรียกของหมั้นคืนในฐานลาภมิควรได้ อนึ่งแม้ว่าการหมั้นจะตกเป็นโมฆะเพราะเหตุที่ชายหญิงคู่หมั้นอายุไม่ถึงสิบ เจ็ดปีบริบูรณ์ แต่กฎหมายก็มิได้ห้ามมิให้ชายหญิงสมรสกันเมื่อมีอายุครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ เป็นต้นไป หรืออีกนัยหนึ่งคือชายหญิงจึงสามารถทำการสมรสกันได้แม้ว่าการหมั้นจะตกเป็น โมฆะหากชายหญิงได้ทำถูกต้องในเรื่อง
การสมรส
2. เงื่อนไขในเรื่องความยินยอม (ม. 1436)
การ หมั้นหากได้กระทำในขณะที่ชายและหญิงคู่หมั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ การหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลดังต่อไปนี้ มิเช่นนั้นการหมั้นนั้นจะมีผลเป็นโมฆียะ ส่วนการหมั้นถ้าได้กระทำในขณะที่ชายหญิงบรรลุนิติภาวะแล้วไม่จำต้องได้รับ ความยินยอมจากบุคคลใดอีก
(1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(4) ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
3. เงื่อนไขในเรื่องของหมั้น (ม. 1437)
การ หมั้นจะต้องมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิงคู่หมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะ สมรส โดยของหมั้นจะมีมูลค่าท่าใดก็ได้กฎหมายไม่ได้กำหนดเพียงแต่ให้มีการส่งมอบ ให้แก่หญิงคู่หมั้นก็เพียงพอ หากไม่มีการให้ของหมั้นแก่หญิงคู่หมั้นแม้ว่าจะมีพิธีหมั้นหรือมีการเจรจา สู่ขอ การหมั้นนั้นกฎหมายกำหนดว่ามีผลไม่สมบูรณ์
ของหมั้น
ของหมั้น (ม.1437 ว.1)
1. การหมั้นต้องมีการส่งมอบของหมั้นแก่หญิงคู่หมั้น
การ หมั้นจะใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการส่งมอบของหมั้นให้แก่หญิง ถ้าไม่มีการส่งมอบของหมั้นแม้จะมีการหมั้นตามจารีตประเพณีของการหมั้น การหมั้นก็ไม่สมบูรณ์จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้(นำคดีไปฟ้องศาลเพื่อเรียก ของหมั้นหรือค่าทดแทนไม่ได้) ซึ่งของหมั้นนั้นจะมีมูลค่าเท่าใดก็ได้ขอเพียงให้มีการให้ของหมั้นแก่หญิง คู่หมั้นก็เป็นการเพียงพอ
การ ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ หมายความว่า จะฟ้องร้องเรียกให้ฝ่ายชายส่งมอบของหมั้นไม่ได้ หรือจะเรียกค่าทดแทนในกรณีที่มีการผิดสัญญาหมั้นไม่ได้ (ฎีกาที่ 1034/2535)
2. ของหมั้น ได้แก่ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงคู่หมั้น เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ผู้ที่ทำการหมั้นมิได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชายหรือ หญิงคู่หมั้นด้วย เช่น บิดามารดา ผู้ปกครอง หากบุคคลผู้ทำการหมั้นมิใช่ชายหญิงคู่หมั้นแล้ว การหมั้นจะผูกพันเฉพาะผู้ที่ทำการหมั้นเท่านั้นจะผูกพันชายหรือหญิงต่อเมื่อ ชายหญิงคู่หมั้นได้ตกลงยินยอมในการหมั้นนั้นด้วย
ตัวอย่าง นายแดงอายุ 22 ปี รักนางสาวอ้อ ซึ่งมีอายุ 18 ปี เป็นอันมาก แต่นางสาวอ้อ ไม่ชอบตน นายแดงจึงไปขอหมั้น นางสาวอ้อกับนางเงิน มารดาของนางสาวอ้อ โดยที่นางสาวอ้อ ไม่ได้รู้เห็นยินยอมแต่อย่างใด นางเงินได้ตกลงรับหมั้นนายแดง และนายแดงได้ส่งมอบแหวนเพชรให้เป็นของหมั้นในวันนั้น หากนางสาวอ้อไม่ยอมทำการสมรสกับนายแดงไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ นายแดงจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางสาวอ้อไม่ได้ เพราะสัญญาหมั้นรายนี้นางสาวอ้อไม่ได้เป็นคู่สัญญาแต่อย่างใด
ของ หมั้นเมื่อมีการให้แก่หญิงแล้วย่อมตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที นอกจากนี้ของหมั้นก็ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย (ม. 1437) ของหมั้นถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะต้องส่งมอบ ให้หญิงทันที ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะต้องจดทะเบียนโอนด้วย
คำ พิพากษาฎีกาที่ 1852/2506 จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์เพื่อ ให้แต่งงานกับบุตรจำเลยแต่จำเลยไม่มีเงิน จึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ ต่อมาบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สัญญากู้ดังกล่าวนี้ เป็นเพียงสัญญาที่จะให้ ทรัพย์สินในวันข้างหน้า ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่าย หนึ่ง ในสภาพของหมั้น และไม่มีความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิของหญิงเมื่อได้ทำ การสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่า ได้มีการให้ของหมั้นกันตามกฎหมายแล้วโจทก์จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ไม่ได้ เพราะสัญญากู้รายนี้ไม่มีหนี้เดิม ต่อกัน
ผลของการหมั้น
การ หมั้นที่สมบูรณ์ย่อมนำไปสู่การสมรส แต่ในกรณีที่การสมรสไม่เกิดขึ้นไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรจะบังคับให้มีการสมรส ไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่การหมั้นหรือสัญญาหมั้นแต่ต่างจากสัญญาอื่นๆซึ่ง สามารถบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถบังคับให้สมรสไม่ได้ แต่ยังมีผลต่อของหมั้นซึ่งฝ่ายชายได้ให้แก่หญิงคู่หมั้นด้วยว่าหญิงนั้นจะ ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายหรือไม่ ซึ่งแยกพิจารณาได้ดังนี้
ในกรณีที่การสมรสไม่อาจเกิดขึ้นได้อันเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้หญิงคู่หมั้นต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย
1. หญิงคู่หมั้นไม่ย่อมสมรสโดยไม่มีเหตุอันสมควร(เท่ากับผิดสัญญาหมั้น)
2. ชายคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญอันเกิดจากหญิง
แต่ในกรณีดังต่อไปนี้หญิงคู่หมั้นไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายชาย(เพราะไม่ได้เกิดจากความผิดของหญิง)
1. ชายคู่หมั้นผิดสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร
2. ชายหรือหญิงคู่หมั้นตายก่อนสมรส
3. หญิงคู่หมั้นบอกเลิกการหมั้นกรณีมีเหตุสำคัญเกิดจากชายคู่หมั้น
4. ต่างฝ่ายต่างละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าหญิงคู่หมั้นผิดสัญญาไม่ได้
สินสอด
หมาย ถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (ม.1437)โดยสินสอดนั้นจะส่งมอบเมื่อใดก็ หากว่าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อ ขอขมาบิดามารดาของฝ่ายหญิงที่ตนล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1. ถ้าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เหตุที่ว่าทำให้ชายไม่สมควร หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น หรือ
2. ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
การผิดสัญญาหมั้น
ถ้า ชาย หรือหญิงคู่หมั้นไม่ทำการสมรสกัน โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ถือว่าคู่หมั้นนั้นผิดสัญญาหมั้นฝ่ายคู่หมั้นที่ผิดสัญญาต้องรับผิดจ่ายค่า ทดแทน (ม.1439)คู่สัญญาหมั้น ไม่ใช่แค่ชายและหญิงคู่หมั้น
ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้นได้แก่ (ม.1440)
1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่ง
3. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้ใช้จ่าย หรือ ต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
4. ค่าทดแทนความเสียหายในกรณีที่ได้จัดการทรัพย์สินด้วยความคาดหมายว่าจะได้สมรส
5. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้จัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับ อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ ด้วยคาดหมายว่าจะได้สมรส
กรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้น แก่ฝ่ายชายด้วย
ค่าทดแทนในกรณีเสมือนผิดสัญญาหมั้น
ในกรณีบอกเลิกเพราะคู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งได้กระทำภายหลังจากการหมั้น
ค่าทดแทนในกรณีที่มีเหตุอื่นใดในทางประเวณีเกิดขึ้นกับหญิงคู่หมั้น (ม.1445)
1. ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยรู้ หรือควรรู้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้วกับตน ชายคู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนได้ต่อเมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้น
2. ชายคู่หมั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นที่ได้ข่มขืน หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรากับหญิงคู่หมั้น หากชายอื่นได้รู้หรือควรรู้แล้ว่าหญิงนั้นได้หมั้นแล้ว โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น
ความระงับสิ้นแห่งสัญญาหมั้น
1. ความตายของคู่หมั้น
2. การเลิกสัญญาหมั้นโดยสมัครใจ
ภาย หลังการหมั้นคู่หมั้นอาจตกลงเลิกสัญญาหมั้นต่อกันได้โดยตกลงเลิกสัญญาหมั้น ด้วยความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งเมื่อเลิกสัญญาต่อกันแล้วคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับสู่ ฐานะเดิมเหมือนไม่เคยได้ทำการหมั้นต่อกัน โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย ทั้งนี้เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
3. บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย
1. เหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น (ไม่ถือว่าผิดสัญญาหมั้น)
เหตุ สำคัญต้องถึงขนาดที่ชายหรือหญิงไม่สมควรสมรสกับอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งไม่คำนึงว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใด ไม่คำนึงว่าเหตุสำคัญจะเกิดก่อนหรือหลังการหมั้น
2. เหตุอันเกิดเพราะคู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งได้กระทำภายหลังจากการหมั้น โดยกฎหมายถือเสมือนว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น
3. กรณีเหตุอื่นใดในทางประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
การเรียกค่าทดแทน ของหมั้นและสินสอดและอายุความ
กรณีคู่หมั้นตาย
ถ้า คู่หมั้นฝ่ายใดตายก่อนสมรสไม่ว่ากรณีใด ะไม่ถือว่าผิดสัญญาหมั้นดังนั้นคู่หมั้นอีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน นอกจากนี้หากบุคคลที่ตายนั้นเป็นหญิงคู่หมั้น คู่สัญญาหมั้นฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกของหมั้น และสินสอดคืน
กรณีผิดสัญญา หรือเสมือนว่าผิดสัญญาหมั้น
การเรียกค่าทดแทนอันเนื่องมาการผิดสัญญาหมั้น หรือเสมือนว่าผิดสัญญาหมั้นมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันผิดสัญญา
อายุความในการที่การเรียกร้องของหมั้นคืนมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันผิดสัญญา ส่วนการเรียกคืนสินสอดมีอายุความ 10 ปี นับวันผิด
สัญญา
กรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยสมัครใจ
ใน กรณีที่สัญญาหมั้นได้เลิกลงโดยความสมัครใจของคู่หมั้น แต่ละฝ่ายจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ โดยหญิงคู่หมั้นต้องคืนของหมั้น และสินสอด ยกเว้นแต่จะได้มีการตกลงเป็นอย่างอื่น(สงวนสิทธิในการเรียกค่าทดแทน และไม่คืนของหมั้นและสินสอด) โดยอายุความในการเรียกคืนของหมั้นและสินสอดมีอายุความ 10 ปี
กรณีบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยกฎหมาย
ใน กรณีที่สัญญาหมั้นระงับโดยการบอกเลิกสัญญาหมั้นอายุความในการเรียกค่าทดแทน มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันรู้เหตุแห่งการบอกเลิก แต่อย่างไรแล้วต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ
ในกรณีที่ การบอกเลิกสัญญาหมั้นเกิดจากเหตุสำคัญอันเกิดจากหญิงคู่หมั้น อายุความในการเรียกคืนของหมั้นมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันเลิกสัญญา และ การเรียกคืนสินสอดมีอายุความ 10 ปี นับวันเลิกสัญญา
การสมรส
เงื่อนไขของการสมรส
การที่จะสมรสกันได้นั้น กฎหมายยังได้กำหนดเงื่อนไขไว้ดังต่อไปนี้
(1) เรื่องอายุของชายหญิงที่จะทำการสมรสกัน กฎหมายกำหนดว่าต้องมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์เหตุผลที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นนี้ก็ เพราะการสมรสนั้นทำให้เกิดมีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย และเกิดสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบในครอบครัวมาก การที่จะให้เด็กทำการสมรสกัน ก็จะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้ กฎหมายจึงกำหนดอายุของคู่สมรสเอาไว้โดยเอาเกณฑ์ที่พอจะเข้าใจถึงการกระทำของ ตนเองได้
(2) เรื่องความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ในกรณีที่คู่สมรสเป็นผู้เยาว์ เหตุผลที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขนี้ก็เพราะว่า เพื่อที่จะให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยตัดสินใจเลือก แนวทางชีวิตครอบครัวของผู้เยาว์ ความยินยอมนี้อาจทำเป็นหนังสือ ระบุชื่อคู่สมรสของทั้ง ๒ ฝ่าย และลงลายมือชื่อผู้ให้ความยินยอมหรืออาจทำโดยวิธีอื่น เช่น ให้ความยินยอมด้วยวาจา
(3) กฎหมายห้ามชายหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้วไปทำการสมรสกับคนอื่นอีก ซึ่งเรียกกันว่าการสมรสซ้อน เหตุผลก็คือ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นภายในครอบครัว เพราะกฎหมายในปัจจุบันรับรองความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาแบบผัวเดียวเมีย เดียวเท่านั้น
(4) ในกรณีที่หญิงที่สามีเดิมตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น เช่น หย่าขาดจากกันจะทำการสมรสครั้งใหม่ได้ต้องกระทำหลังจากที่การสมรสเดิมสิ้น สุดไป แล้ว ๓๑๐ วัน เหตุผลที่กฎหมายห้ามก็เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับบุตรที่เกิดมาว่าจะถือว่า เป็นบุตรของใคร (สามีใหม่หรือสามีเก่า)
(5) กฎหมายห้ามคนวิกลจริต หรือ ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำการสมรส เหตุผลก็เพื่อให้ครอบครัวมีชีวิตที่สงบสุข ถ้าให้แต่งงานกับคนบ้าแล้วก็อาจเกิดปัญหาได้
(6) กฎหมายห้ามชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือโดยตรงลงมาทำการ สมรสกัน เช่น พ่อสมรสกับลูก และรวมถึงเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันด้วยเหตุผลก็เพราะในทางการแพทย์ นั้น เขาพิสูจน์ได้ว่าถ้าคนที่มีสายเลือดเดียวกันสมรสกัน บุตรที่เกิดมาจะรับเอาส่วนที่ไม่ดีของทั้ง ๒ ฝ่ายมาทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นเด็กที่ผิดปกติ นอกจากนี้ก็ยังมีเหตุผลทางสังคมด้วย คือ สภาพสังคมไทยเราก็ไม่ยอมรับการสมรสแบบนี้ด้วย
(7) กฎหมายห้ามผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมทำการสมรสกัน เหตุผลที่กฎหมายห้าม ก็เพื่อมิให้เกิดความสับสนของสถานะของแต่ละฝ่ายว่า จะเป็นบุตรบุญธรรมหรือสามีภริยานั่นเอง
ผลของการฝ่าผืนเงื่อนไขการสมรส
ถ้ามีการจดทะเบียนสมรสไปโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขต่าง ๆ นี้ จะมีผลต่อการสมรส ดังนี้
(1) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ 1, 2, 5 การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะ (สมบูรณ์จนกว่าจะถูกเพิกถอน)
(2) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ 3, 6 การสมรสนั้นตกเป็นโมฆะ
(3) ถ้าฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อ 4, 7 การสมรสนั้นยังมีผลสมบูรณ์ทุกประการแต่จะมีผลทางกฎหมายอย่างอื่น คือ
3.1 ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๔ การสมรสสมบูรณ์และกฎหมายก็สันนิษฐานว่า เด็กที่เกิดมานั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีใหม่
3.2 ถ้าเป็นการฝ่าฝืนในเงื่อนไขข้อ ๗ จะมีผล คือ ทำให้การเป็นบุตร บุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นสิ้นสุดลงทันที โดยไม่ต้องไปจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก
ถ้าการสมรสได้ทำ ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการแล้ว ผลคือชายหญิงคู่นั้นก็เป็น สามีภริยากันตามกฎหมาย ทำให้เกิดความผูกพันทางครอบครัวหลายประการ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
แบบในการสมรส
การสมรสชายหญิง จะต้องจดทะเบียนสมรสมิเช่นนั้นจะถือว่ามีการสมรสแล้วไมได้ แม้ว่าจะมีการจัดงานฉลองสมรสอย่างใหญ่โตก็ตาม ชายหญิงยังไม่มีฐานะเป็นสามีภริยา ดังนั้นสิทธิหน้าที่ระหว่างสามีภริยาก็ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะได้มีการ ทะเบียนสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
เมื่อได้มี การสมรสแล้ว ย่อมทำให้ชายและหญิงมีฐานะเป็นสามีภริยาต่อกัน อันนำไปสู่สิทธิหน้าที่(ความสัมพันธ์)ระหว่างสามีภริยา ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยามีในด้านดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านส่วนตัว
1. ต้องอยู่กินกันฉันท์สามีภริยา เนื่องจากการสมรสเป็นการก่อตั้งสถาบันครอบครัวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดสมาชิกใหม่ให้เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้นสามีภริยาจึงจำต้องอยู่กินกันฉันท์สามีภริยา ซึ่งมีความหมายว่าต้องใช้ชีวิตร่วมกัน และร่วมถึงมีการร่วมประเวณีกันด้วย
2. ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ให้ความช่วยเหลือกันในชีวิตประจำวันทั้งด้านทรัพย์สิน และความเป็นอยู่
3. ต้องเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สิน
สินส่วนตัว ได้แก่ทรัพย์ดังต่อไปนี้
1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่แล้วก่อนการสมรส
2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับ
3. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ
4. ทรัพย์สินที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
5. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น
สินสมรส
1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส หมายถึง ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่เป็นสินส่วนตัวแล้ว ถ้าคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายใดได้มาก็ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งสิ้น เช่น เงินเดือน โบนัส เงินรางวัลจากลอตเตอรี่ เป็นต้น
2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างการสมรสโดยพินัยกรรม และมีข้อความในพินัยกรรรมระบุอย่างแจ้งชัดว่าให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
จัดการสินสมรสตามกฎหมาย ตาม ม.1476
การจัดการสินสมรสคู่สมรสต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนการจัดการ มาตรา 1476
การจัดการร่วมกัน หมายถึงทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องสินสมรสร่วมกัน เช่นมีการลงลายมือชื่อร่วมกันในสัญญาที่เกี่ยวกับสินสมรส
ใน กรณีขอยินยอมก่อนทำนิติกรรม จะให้ความยินยอมโดยวาจาก็ได้ เว้นแต่นิติกรรมที่จะให้ความยินยอมนั้นมีกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำเป็นหนังสือ หรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ความยินยอมก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
การจัดการฝ่าฝืนกฎหมาย
หาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยไม่ได้รับความยินยอม จากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ โดยต้องขอให้ศาลเพิกถอนภายใน 1 ปี นับตั้งแต่รู้หรือภายใน 10 ปีนับจากวันทำนิติกรรมนั้น
แต่ในกรณีต่อไปนี้จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนไม่ได้เลย
1. ฝ่ายที่ไม่ให้ความยินยอม ให้สัตยาบันแล้ว
2. บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญา ได้ทำการนั้นโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ความรับผิดในหนี้สินของสามีภริยา
หนี้ส่วนตัว ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อนเป็นลำดับแรก เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นของฝ่ายนั้น
หนี้ร่วม คือหนี้ที่สามีภริยาก่อขึ้นร่วมกัน
ให้ ชำระหนี้จากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย หนี้ที่สามีภริยาเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันเอง จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของคู่สมรสอีกฝ่ายไม่ได้
และให้หมายถึง หนี้ในกรณีนี้ด้วย
1. หนี้ที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว
2. หนี้ที่เกิดจากการอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรโดยสมควรแก่อัตภาพ
3. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
4. หนี้อันเกิดจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
5. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อเพื่อประโยชน์ฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายได้ให้สัตยาบัน
6. หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส
ความสัมพันธ์ในการเป็นทายาทโดยธรรม
ใน กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่ความตาย กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งยังคงมีชีวิตอยู่นั้นมีฐานะเป็นทายาท โดยธรรม(ม.1629 ว.2)
ผลของการสมรส
การสมรสซึ่งมีผล สมบูรณ์นั้นย่อมทำให้ชายและหญิงมีฐานะเป็นสามีภริยากัน ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
1. การสมรสเป็นโมฆียะ
การ สมรสซึ่งมีผลเป็นโมฆียะนั้น มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เพิกถอน ดังนั้นในระหว่างที่ศาลยังมิได้เพิกถอน ย่อมก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในด้านต่างๆเช่นเดียวกับการสมรส ที่สมบูรณ์ทุกๆประการ และเมื่อศาลได้เพิกถอนการสมรสแล้วกฎหมายให้บทบัญญัติว่าด้วยผลของการหย่าโดย คำพิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลม
การสมรสซึ่งมีผลเป็นโมฆียะอาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้
-การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขเกี่ยวเรื่องอายุ
-การสมรสที่เกิดจากการสำคัญผิดตัวคู่สมรส
-การสมรสที่เกิดจากกลฉ้อฉล
-การสมรสที่เกิดขึ้นจากการข่มขู่
-การสมรของผู้เยาว์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความยินยอม
ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอน แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
4.1 ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืนเงื่อนไขในเรื่องอายุของคู่สมรส ผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีความหมายรวมถึงบิดามารดาหรือผู้ปกครองของชายหญิงคู่สมรส แต่ในกรณีบิดามารดานั้น ถ้าหากเป็นผู้ให้ความยินยอมเองด้วยแล้ว กฎหมายก็ห้ามร้องขอต่อศาล ต้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนก่อนที่ชายหญิงจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือก่อนที่หญิงมีครรภ์
4.2 ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะขาดความยินยอมของบิดามารดาหรือ ผู้ปกครองแล้ว ผู้มีสิทธิร้องขอก็คือบิดามารดาหรือผู้ปกครองเท่านั้น
4.3 ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะกลฉ้อฉล ผู้มีสิทธิร้องขอคือคู่สมรสฝ่ายที่ถูกหลอกเท่านั้น ขอให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉลแต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันทำการสมรส
4.4 ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะการข่มขู่ ผู้มีสิทธิร้องขอก็คือคู่สมรสฝ่ายที่ถูกข่มขู่เท่านั้น โดยต้องร้องขอภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นจากการถูก
4.5 ถ้าการสมรสเป็นโมฆียะเพราะสำคัญผิดตัว ผู้มีสิทธิร้องขอก็คือคู่สมรสฝ่ายที่สำคัญผิดเท่านั้นขอให้ศาลเพิกถอน คือ ภายใน 90 วันนับแต่วันทำการสมรส
4.6.การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. การสมรสเป็นโมฆะ
เกิดขึ้นได้โดยการสมรสนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของการสมรส ได้แก่
1. การสมรสที่ชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกัน หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดา หรือมารดา
2. การสมรสซ้อน
การ สมรสซึ่งมีผลเป็นโมฆะนั้นกรณีทั่วไปจะสิ้นสุดเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแสดงว่า การสมรสนั้นเป็นโมฆะ ส่วนการสมรสซ้อนนั้นสิ้นสุดลงเมื่อผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดกล่าวอ้างว่า การสมรสเป็นโมฆะก็ได้
ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ
การ สมรสที่เป็นโมฆะนั้นก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในด้านส่วนตัว กล่าวคือ ชายหญิงนั้นมีฐานะเป็นสามีภริยาต่อกัน จึงมีหน้าอุปการะเลี้ยงดู อยู่กินฉันท์สามีภริยา ส่วนความสัมพันธ์ในด้านทรัพย์สิน(สินสมรส)นั้นไม่เกิดขึ้น(ม.1498) กล่าวคือ ฝ่ายใดได้
ทรัพย์สินมาโดยลำพังก็เป็นทรัพย์สินของฝ่ายนั้น แต่หากทำมาหาได้ร่วมกันก็มีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกัน (กรรมสิทธิ์รวม)
สำหรับความสัมพันธ์ด้านอื่นๆเช่น ความเป็นทายาทโดยธรรม สิทธิการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูการสมรสที่ตกเป็นโมฆะเพราะเหตุอื่นนอกจาก
เหตุสมรสซ้อน ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ (ม.1499 ว.1)
ส่วน การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะเหตุสมรสซ้อนนั้น ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาก่อนที่รู้เหตุที่ทำให้ การสมรสเป็นโมฆะ ยกเว้นแต่สิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งแม้ว่า จะสุจริตก็ไม่เกิดฐานะความเป็นทายาท(ม.1499 ว.2)
ผลของการสมรส
ด้านส่วนตัว
ด้านทรัพย์สิน
การเป็นทายาท
สมบูรณ์
การสิ้นสุดการสมรส
1. เมื่อถึงแก่ความตาย
2. เมื่อตกลงหย่า
3. เมื่อมีการฟ้องหย่า
4. เมื่อมีการศาลพิพากษาเพิกถอน
5. เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือศาลได้พิพากษา
การสิ้นสุดด้วยการหย่า
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
การหย่าโดยความยินยอมทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย ๒ คน โดยการหย่าจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำการจดทะเบียนหย่า
การ หย่าโดยความยินยอม สามีภริยาต้องทำความตกลง เป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด และไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่ายหรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะ ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ฟ้องขอหย่าโดยอ้างเหตุหย่าเหตุใดเหตุหนึ่งหรือหลายเหตุ(มาตรา 1516) ดังต่อไปนี้
(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความ ผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่าย ที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่น ประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่ง นั้นฟ้องหย่าได้(ทิ้งร้างการที่ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่ง แต่หากไม่เป็นการจงใจ เช่น ต้องติดราชการทหารไปชายแดน เช่นนี้ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง)
(4/1) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุก เกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามี ภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกิน ควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(4/2) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของ ศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่าง ไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(6) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตาม สมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอา สภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่าย หนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมี ลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกัน ฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความ ประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่าย หนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วม ประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
อนึ่ง สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้ กระทำการอันแสดงให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นเหตุ ให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว
ผลของการหย่าโดยคำพิพากษา
ผลเกี่ยวกับบุตร
ใคร เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้โดยค่าเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด
ผลเกี่ยวกับสามีภริยา
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้น มีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังเกิดผลดังต่อไปนี้
1. การฟ้องหย่าโดยเหตุตามมาตรา ๑๕๑๖ (๑)
เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา
1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทน จากสามีหรือภริยาและจากหญิงอื่น หรือชู้ แล้วแต่กรณี สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และ ภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผย เพื่อแสดงว่าตน มีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้ แต่ถ้าสามีหรือภริยายินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตามมาตรา 1516(1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง สามีหรือภริยานั้นจะ เรียกค่าทดแทนไม่ได้
2. การฟ้องหย่าโดยเหตุ ตามมาตรา ๑๕๑๖ (๓) (๔) หรือ (๖) ถ้าเกิดขึ้นเพราะฝ่ายผู้ต้องรับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีก ฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้องฟ้องหย่า อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิได้รับค่าทดแทน จากฝ่ายที่ต้องรับผิด
3. ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่าง สมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้
4. ถ้าหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตตามมาตรา1516 (7) หรือเพราะเหตุเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 1516 (9) คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริตหรือฝ่ายที่เป็น โรคติดต่อนั้น
การเป็นบิดามารดาและบุตร
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
1. เด็กที่เกิดระหว่างสมรส กล่าวคือเกิดในขณะที่หญิงเป็นภริยาชาย
กฎหมายถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง และสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีของมารดาเด็ก
2. เด็กที่เกิดจากการสมรสเป็นโมฆียะ ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย
3. เด็กที่เกิดจากหญิงภายใน 310 วันนับจากวันที่การสมรสสิ้นสุดลง หรือการสมรสที่โมฆะ แล้วแต่กรณีกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย
4. เด็กที่เกิดจากหญิงหม้ายซึ่งทำการสมรสใหม่
5. เด็กที่เกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย เด็กนั้นย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง
6. เด็กที่เกิดจากการสมรสเป็นโมฆะ ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชาย
บุตรนอกสมรส
บุตร ซึ่งไม่ได้เกิดจากการสมรส(บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน) บุตรที่เกิดมาในส่วนของมารดาถือว่า เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ แต่ในส่วนบิดานั้นกฎหมายถือว่า ชายนั้นมิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตร แต่บุตรนั้นอาจจะกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้นั้นได้โดย 3 วิธีดังต่อไปนี้
3.1 เมื่อบิดามารดาของบุตรนั้นสมรสกันภายหลังโดยชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือจดทะเบียนสมรสกัน และทำตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย บุตรนั้นจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาทันที นับแต่วันที่บิดามารดาทำการสมรสกัน ถ้ามีบุตรหลายคนบุตรทุกคนก็จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทุกคนหรือ
3.2 โดยการจดทะเบียนรับเด็กนั้นเป็นบุตร แต่ตัวเด็กนั้นหรือมารดาเด็กต้อง ไม่คัดค้านว่าชายผู้ขอจดทะเบียนมิใช่บิดา ถ้ามีการคัดค้านก็ต้องให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ขั้นตอนการจดทะเบียนก็คือ ชายจะไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนที่อำเภอ และนายทะเบียนจะแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็กว่าจะคัดค้านหรือ ไม่ ถ้าหากคัดค้าน ต้องคัดค้านภายใน 60 วัน นับแต่วันที่การแจ้งความนั้นไปถึง ถ้าไม่มีการคัดค้านนายทะเบียนก็จะรับจดทะเบียนให้ แต่ถ้ามีการคัดค้านนายทะเบียนก็จะยังไม่รับจดทะเบียน และชายนั้นก็ต้องดำเนินคดีทางศาล และเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าศาลตัดสินให้จดทะเบียนได้ชายต้องนำคำพิพากษามาแสดงต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็จะจดทะเบียนให้ เมื่อมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแล้ว แม้ชายนั้นจะมิได้ทำการสมรสกับหญิงก็ตาม ให้ถือว่าชายเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กนั้น และมีสิทธิหน้าที่ต่อกันตามกฎหมาย
3.3 โดยการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตร กรณีนี้ ตัวเด็ก หรือผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องชาย เพื่อให้ศาลพิพากษาชายนั้นเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด ดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยว กักขังหญิงผู้เป็นแม่ของเด็กโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในช่วงเวลาที่หญิงนั้นอาจจะ ตั้งครรภ์ได้
(2) เมื่อมีการลักพาหญิงผู้เป็นแม่ของเด็กไปในทางชู้สาว หรือมีการล่อลวง ร่วมหลับนอนกับผู้หญิงผู้เป็นแม่เด็กในระยะเวลาที่หญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
(3) เมื่อมีเอกสารของพ่อแสดงว่า เด็กนั้นเป็นลูกของตน เช่น พ่อยื่นคำร้องแจ้งเด็กเกิดในทะเบียนบ้าน โดยแจ้งว่าเป็นบุตรของตน หรืออาจเป็นกรณีลงชื่อฝากเด็กเข้าโรงเรียน โดยระบุว่าเป็นบุตรของตนก็ได้
(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของชาย โดยชายเป็นผู้ไปแจ้งการเกิดเอง หรือการจดทะเบียนนั้นได้กระทำโดยรู้เห็นยินยอมของชาย
(5) เมื่อพ่อแม่ได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
(6) เมื่อชายได้มีการหลับนอนกับหญิงผู้เป็นแม่ในระยะเวลาที่อาจตั้งครรภ์ ได้และไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เด็กนั้นเป็นบุตรของชายอื่น
(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นลูก ซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น ชายนั้นให้ความอุปการะเลี้ยงดู หรือยอมให้ใช้นามสกุลของตน เป็นต้น
การ ฟ้องคดีให้รับเด็กเป็นบุตรต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายคือ ถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้วต้อง ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) แต่ถ้าเด็กตายในระหว่างที่ยังมีสิทธิฟ้องคดีอยู่ ก็ให้ผู้สืบสันดานของเด็กฟ้องแทน ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กรู้ข้อเท็จจริงที่จะ ฟ้องคดีได้ก่อนวันที่เด็กตาย ก็ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เด็กตาย แต่ถ้ามารู้หลังจากที่เด็กตายแล้วก็ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ผู้ที่มีอำนาจฟ้อง คือ ในกรณีที่เด็กอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เด็กสามารถฟ้องคดีได้เอง แต่ถ้าเด็กยังอายุไม่ถึง 15 ปี ก็สามารถให้ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องแทนได้ และผลของการฟ้องคดีนี้ถ้าฝ่ายเด็กเป็นผู้ชนะคดี เด็กนั้นก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายนับตั้ง แต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
บุตรบุญธรรม
หลักเกณฑ์ในการรับบุตรบุญธรรม
1. หลักเกณฑ์เรื่องอายุ
ผู้ รับบุตรบุญธรรมจะต้องมีอายุยี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และจะต้องมีอายุแก่กว่าบุคคลซึ่งจะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี (มาตรา 1598/19)
2. หลักเกณฑ์เรื่องความยินยอม การรับบุตรบุญธรรมจะต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
2.2 บิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
2.3 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูก ทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วย การสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความ ยินยอมแทนบิดาและมารดา ถ้าสถานสงเคราะห์ไม่ให้ความยินยอมให้ร้องขอต่อศาลเพื่อขออนุญาตแทนการให้ ความยินยอม
2.4 กรณีที่ผู้จะรับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส การรับบุตรบุญธรรมจะต้องรับได้ความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่การยินยอมของคู่สมรสไม่ทำให้คู่สมรสนั้นมีฐานะเป็นบิดาหรือมารดาบุตรธรรม ไปพร้อมกับผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย ยกเว้นแต่จะได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมด้วย
3. หลักเกณฑ์เรื่องการจดทะเบียน
การ รับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม มิเช่นนั้นจะไม่เกิดความสัมพันธ์การเป็นบุตรบุญธรรม และบิดามารดาบุญธรรมต่อกัน
ผลการรับบุตรบุญธรรม
1. การรับบุตรบุญธรรมมีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ รับบุตรบุญธรรม (ม. 1598/28) ดังนั้นผู้รับบุตรบุญธรรมจึงมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรบุญธรรม
2. การรับบุตรบุญธรรมมีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีฐานเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตร บุญธรรม(ม.1627) หากผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม(ม.1629(1))
3. การรับบุตรบุญธรรมไม่ทำให้บุตรบุญธรรมสูญสิทธิและหน้าที่ ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา
สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร
1. พ่อแม่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควร ในระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์) ถ้าบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว พ่อแม่ก็ไม่จำเป็นต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร เว้นแต่บุตรจะเป็นคนพิการ และหาเลี้ยงตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูต่อไป
2. บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูพ่อแม่บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของพ่อ
3. บุตรจะฟ้องบุพการีของตน เป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญาไม่ได้ แต่สามารถร้องขอให้อัยการเป็นผู้ดำเนินคดีแทนได้ กฎหมายห้ามเฉพาะการฟ้องแต่ไม่ห้ามในกรณีที่บุตรถูกฟ้อง แล้วต่อสู้คดี กรณีนี้ย่อมทำได้
4. สิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของบุตร
5. สิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
6. สิทธิที่จะให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
7. สิทธิเรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักขังบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
8. สิทธิที่จะติดต่อบุตรของตนเอง
9. ในกรณีบุตรเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
10. การจัดการทรัพย์สินของบุตรผู้เยาว์นั้นต้องจัดการด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชน
11. การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1574 บิดามารดาจะให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ หรือยินยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมไม่ได้ ต้องขออนุญาตศาลก่อน
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
(3) ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
(4) จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มา ซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจาก ทรัพยสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
(5) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
6) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
(7) ให้กู้ยืมเงิน
(8) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อ การกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
(9) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่ รับการให้โดยเสน่หา
(10) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับ ชำระหนี้ หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
(11) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่ บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4 (1)
(2) หรือ (3)
(12) ประนีประนอมยอมความ
(13) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ผู้ปกครอง
เหตุในการตั้งผู้ปกครอง
ใน กรณีที่บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่มีบิดามารดา(ทั้งคู่) หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง(ทั้งคู่) จะจัดให้มีผู้ปกครองในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้ (ม.1585) เพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาในการให้ความอุปการะเลี้ยงดูทั้งในเรื่องการเป็น อยู่และการจัดการทรัพย์สิน โดยผู้ปกครองนั้นมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียวเท่านั้น ยกเว้นแต่ศาลเห็นว่าจำเป็นหรือพินัยกรรมระบุไว้เป็นอย่างอื่นก็อาจจะตั้ง หลายคนได้ (ม.1590)
การตั้งผู้ปกครอง
ผู้ ปกครองจะเกิดขึ้นได้แต่โดยคำสั่งของศาลเท่านั้นโดยการร้องขอของญาติของผู้ เยาว์ อัยการ หรือบุคคลซึ่งบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์ซึ่งตายทีหลังระบุไว้ในพินัยกรรมให้ เป็นผู้ปกครอง(ม.1586) โดยบุคคลซึ่งจะถูกตั้งเป็นผู้ปกครองจะต้องมิได้เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะดัง
ต่อ ไปนี้ (ม.1587)
อำนาจหน้าที่ของผู้ปกครอง
1. ผู้ปกครองมีอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่ผู้อยู่ในความปกครอง
2. ผู้ปกครองมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของผู้อยู่ในความปกครอง
3. ผู้ปกครองมีสิทธิทำโทษผู้อยู่ในความปกครองตามสมควร
4. ผู้ปกครองมีสิทธิให้ผู้อยู่ในความปกครองทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
5. ผู้ปกครองมีสิทธิเรียกผู้อยู่ในความปกครองจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
6. ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
7. นิติกรรมอันระบุไว้ตาม ม.1574 ผู้ปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
เหตุอันทำให้ความปกครองสิ้นสุดลง
1. ผู้อยู่ในความปกครองตาย หรือ
2. ผู้อยู่ในความปกครองบรรลุนิติภาวะ
ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
1. ผู้ปกครองตาย
2. ผู้ปกครองลาออกโดได้รับอนุญาตจากศาล
3. ผู้ปกครองตกเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
4. ผู้ปกครองเป็นบุคคลล้มละลาย
5. ผู้ปกครองถูกถอนโดยคำสั่งศาล
หวัง ว่าทุกคนอาจได้ความรู้ไม่มากก้อน้อย นะคับ จาก บทความวันนี้ และครั้งต่อไปผม จะ นำอะไร มา บอกเล่าเก้าสู่ อีกนั้น โปรด ติด ตาม อ่านกัน เรื่อยๆนะคับ
มีขอสงสัย ส่งมาที่ i_jirasak@hotmail.com หรื่อ jirasak.aek@gmail.com
กฏหมายครอบครัว และ ข้อกฏหมาย สำคัญ ในกฏหมายครอบครัว ที่ จำเป็นในชีวิตประจำวัน,กฎหมายครอบครัว,หลักกฎหมายครอบครัว,กฎหมายครอบครัวที่สำคัญ และ กฏหมายครอบครัว
กลับสู่หน้าหลัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น